นาฬิกาหรอก

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ปลาบึก

ปลาบึก

ลักษณะทั่วไป
    
จัดเป็นปลาน้ำจืดที่ไม่มีเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวมีความยาวเกือบ 3 เมตร และมีน้ำหนักมากกว่า 250 กิโลกรัม ลำตัวมีลักษณะยาวและแบนด้านข้าง ส่วนหัวค่อนข้างใหญ่ ตามีขนาดเล็ก ไม่มีฟัน มีหนวดสั้นๆ ที่ขากรรไกรบน 1 คู่ซ่อนอยู่ในร่องตรงเลยมุมปาก ในขณะมีชีวิตสีลำตัวจะเป็นสีเทาออกแดงทางด้านหลัง แล้วค่อยๆ กลายเป็นสีเทาแกมฟ้าทางด้านข้าง และสีขาวทางด้านใต้ท้อง มีจุดดำจุดหนึ่งทางด้านข้างตรงตำแหน่งปลายสุดของครีบหู และจุดดำอีกสามจุดบนครีบหาง ครีบทุกครีบเป็นสีเทาจางๆ
      

ถิ่นอาศัย, อาหาร
     ปลาบึกพบอาศัยอยู่เฉพาะในแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขาเท่านั้น เคยพบบ้างในแคว้นฉานของประเทศพม่า และแคว้นยูนาน ในประเทศจีนตอนใต้ ชอบบริเวณแม่น้ำที่มีความลึกมากกว่า 10 เมตร พื้นท้องน้ำเป็นกรวด และควรจะมีเพิงหินหรือถ้ำใต้น้ำด้วย
     อาหารได้แก่ สาหร่ายที่ขึ้นอยู่ตามก้อนหินใต้น้ำเป็นอาหาร

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
     รักสงบ ตื่นตกใจง่าย ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณเขตน้ำลึกที่มีกระแสน้ำไหล
     เชื่อว่าฤดูวางไข่ของปลาบึกจะตกอยู่ราวเดือนกุมภาพันธ์ โดยปลาบึกจะว่ายทวนน้ำขึ้นไปวางไข่เหนือขึ้นไปจากประเทศไทย บริเวณหลวงพระบางในประเทศลาวซึ่งเป็นบริเวณนำลึกมีเกาะแก่งมากสะดวกในการผสมพันธุ์และวางไข่ในฤดูแล้ง พอถึงฤดูน้ำหลาก มันจะว่ายตามน้ำลงมายังแม่น้ำโขงตอนล่าง

สถานภาพปัจจุบัน
     ในปัจจุบันประเทศไทยโดยทางกรมประมงได้ผสมเทียมปลาบึกเป็นผลสำเร็จตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 และในปีต่อมาสามารถเพาะพันธุ์ได้จำนวนมากพอที่จะปล่อยในแหล่งน้ำต่างๆ ทั่วประเทศ ปรากฏว่าปลาบึกเจริญเติบโตได้ดี แต่ยังไม่ทราบว่าจะผสมพันธุ์วางไข่ได้หรือไม่ ทุกปีจะมีเทศกาลจับปลาบึกขึ้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ทำให้ปลาบึกที่โตเต็มที่พร้อมผสมพันธุ์ถูกจับปีละนับร้อยตัว เพื่อนำเอามาขายเป็นอาหารราคาแพง ทำให้ปริมาณของปลาบึกในแม่น้ำโขงลดจำนวนลงทุกปีๆ
ปลาบึก (อังกฤษ: Mekong Giant Catfish, ชื่อวิทยาศาสตร์: Pangasianodon gigas) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ไม่มีเกล็ด อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงบริเวณประเทศลาว เป็นปลาที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากการจับปลามากเกินไป คุณภาพน้ำที่แย่ลงจากการพัฒนาและการสร้างเขื่อนบริเวณต้นน้ำ ปัจจุบัน IUCN จัดปลาบึกอยู่ในกลุ่ม Critically Endangered ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มาก
ปลาบึกถือเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Pangasinodon[1] ลักษณะภายนอกที่สามารถแยกแยะปลาบึกออกจากปลาในสกุล Pangasius ซึ่งเป็นปลาในสกุลที่ใกล้เคียงที่สุด ได้แก่ลักษณะของฟันและหนวด ปลาบึกไม่มีฟันและเกือบจะไม่มีหนวด โดยที่ปลาวัยอ่อนมีฟันและกินปลาอื่นเป็นอาหาร แต่เมื่อโตขึ้นฟันจะหลุดไป และตาซึ่งจะอยู่ต่ำกว่ามุมปากเมื่อมองจากด้านหน้าตรง ๆ จะไม่เห็น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการใช้หากินตามพื้นน้ำ อีกทั้งปลาบึกมีซี่กรองเหงือกเล็กกว่า และ ปลายถุงลมจะลงถึงบริเวณช่วงท้องไม่เกินครีบก้น อีกทั้งความกว้างของปากและส่วนหัวของปลาบึกก็มีมากกว่า
อาหารของปลาบึกในธรรมชาติคือพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ตะไคร่น้ำ แต่เมื่อนำมาเลี้ยงก็สามารถรับอาหารชนิดอื่นได้ สามารถโตได้ถึง 3 เมตรและหนัก 150-200 กิโลกรัม ใน 5 ปี ปลาที่หนักที่สุดเท่าที่เคยจับได้เป็นตัวเมีย (บางรายงานระบุผิดว่าเป็นตัวผู้) ยาว 2.7 เมตร และหนัก 293 กิโลกรัม (646 ปอนด์) เจ้าหน้าที่กรมประมงสามารถรีดไข่ได้สำเร็จแต่ปลาตัวนี้ก็ตายก่อนที่จะปล่อยกลับธรรมชาติ
ในธรรมชาติยังไม่มีผู้พบปลาวัยอ่อน ปลาบึกเป็นปลาที่อพยพว่ายน้ำจากแม่น้ำโขงในเขตประเทศจีน เพื่อที่จะไปผสมพันธุ์และวางไข่ที่ทะเลสาบเขมร โดยฤดูกาลที่ปลาอพยพมานั้น ที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จะถือว่าเป็นประเพณีจับปลาบึก โดยเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม
ปลาบึกถือเป็นอาหารที่ราคาสูงในประเทศลาว ในอดีตมีการประกอบพิธีกรรมร่วมกับการจับปลาชนิดนี้ ซึ่งมีการจับเพียงครั้งเดียวต่อปี และเนื้อปลาก็พบเห็นได้น้อยตามตลาด นอกจากเนื้อแล้ว ตับและไข่ปลาหมักเป็นอาหารรสชาติดี และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย
ปลาบึกมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า "ไตรราช"
ปลาบึกที่มีขายในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการผสมเทียม โดยกรมประมงสามารถผสมเทียมและได้ลูกออกมานำไปปล่อยไปในแหล่งน้ำหลายแห่งในประเทศ อาทิ เขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา[2], บ่อน้ำภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม[3] เป็นต้น



ปลาคาร์พ หรือปลาแฟนซีคาร์พ (Fancy Carp) นับเป็นปลาที่สวยงามชนิดหนึ่ง ซึ่งได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะมันเลี้ยงง่าย โตไว อีกทั้งยังมีสีสันสวยงามอีกด้วย และเป็นปลาที่มีอายุยืนที่สุดในโลก  เช่น  ปลาคาร์พ ชื่อ "ฮานาโกะ" ของนายแพทย์ผู้หนึ่ง ที่ เมืองกูฟี ประเทศญี่ปุ่น มีอายุยืนถึง 266 ปี

           ทั้งนี้ ปลาคาร์พ จัดอยู่ในประเภทปลาน้ำจืดกลุ่มปลาตะเพียน (Carp) ชาวญี่ปุ่นเรียกกันว่า โต่ย (Koi) นิชิกิกอย (Nichikigoi) มีต้นกำเนิดมาจากปลาไนธรรมดา ซึ่งพบในแหล่งน้ำจืดต่างๆ ทั่วโลก สำหรับถิ่นกำเนิดที่แท้จริงก็คือ ประเทศอิหร่านในปัจจุบัน แต่ชาวจีนเป็นกลุ่มแรกที่ได้ศึกษาเรื่องปลาไนมานานกว่า 2,000 ปีแล้ว

           ส่วนประเทศญี่ปุ่นได้ศึกษาเกี่ยวกับปลาคาร์พ เมื่อประมาณ 200 ปี หลังคริสต์ศตวรรษ โดยกล่าวถึงปลาชนิดนี้ว่ามีสีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน ซึ่งชาวญี่ปุ่นนิยมเลี้ยงไว้ดูเล่น และได้พัฒนาสายพันธุ์ดั้งเดิมของปลาไน ให้เป็นปลาสวยงาม มีสีสันและรูปร่างที่สวยงามขึ้นมาเป็นระยะเวลานาน โดยเรียกว่า ปลาคาร์ฟ หรือ แฟนซีคาร์ฟ โดยมีแหล่งหรือศูนย์กลางการเพาะเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์ฟ บริเวณเขาแถบเมืองโอจิยะ จังหวัดนิอิกาตะ และเมืองฮิโรชิมา

           สำหรับประเทศไทยได้เริ่มนำเข้าปลาคาร์ฟเมื่อปี พ.ศ.2493 โดยการนำมาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีการซื้อขายในราคาที่ค่อนข้างสูง ในปี พ.ศ.2498 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ทรง สั่งปลาชนิดนี้มาจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำมาเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์และตั้งชื่อปลาแฟนซีคาร์ฟนี้ว่า ปลาอมรินทร์ หรือบางทีก็เรียกว่า ปลาไนทรงเครื่อง ซึ่งชาวญี่ปุ่นเรียกกันว่า นิชิกิกอย (Nichikigoi)

ประเภทของปลาคาร์พ

           ปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาแฟนซีคาร์พขึ้นใหม่ในเชิงการค้าทั้งหมด 13 สายพันธุ์หลัก โดยแบ่งแยกตามลักษณะของลวดลายและสีสันบนตัวปลา ได้แก่

           1. โคฮากุ (Kohoku) เป็นปลาที่มีลายขาวและแดง เป็นสายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันมากที่สุด ลักษณะที่ดีสีแดงจะต้องคมชัดสม่ำเสมอ และสีขาวไม่ควรมีตำหนิใดๆ
   
           2. ไทโช ซันเก้ (Taisho Sanke) ประกอบ ด้วย 3 สีด้วยกัน คือ ขาว แดง และดำ สีดำบนตัวปลานั้นควรดำสนิท และดวงใหญ่ ไม่ควรมีสีดำบนส่วนหัว รวมทั้งไม่มีสีแดงบนครีบและหาง
   
           3. โชวา ซันโชกุ (Showa Sanshoku) เป็น แฟนซี คาร์พสามสี เช่นเดียวกับไทโช ซันเก้ ที่แตกต่างกันก็คือ สีขาวและแดงจะรวมตัวอยู่บนพื้นสีดำขนาดใหญ่ และมีสีดำบริเวณเชื่อมต่อครีบ และลำตัวในลักษณะของตัว Y
   
           4. อุจิริ โมโน (Utsuri Mono) เป็นแฟนซีคาร์พ ที่มีสีดำพาดผ่านบนพื้นสีอื่น โดยสีดำที่ปรากฏจะเป็นรอยปื้นยาวพาดบนตัวปลา
   
           5. เบคโกะ (Bekko) เป็นแฟนซี คาร์พ ที่มีสองสี โดยมีลวดลายเป็นจุดดำแต้มอยู่บนพื้นสีต่างๆ ในขนาดที่ไม่เล็ก หรือใหญ่เกินไป
   
           6. อาซากิ ชูซุย (Asagi Shusui) อาซากิ ชูซุย เป็นสายพันธุ์ที่ถ่ายทอดมาจากปลาไนโดยตรง จะมีเกล็ดสีฟ้าสวยเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ
   
           7. โกโรโมะ (Koromo) เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างอาซากิกับสายพันธุ์อื่นๆ โดยจะมีเกล็ดสีน้ำเงินกระจายเด่นอยู่บนลวดลาย
   
           8. โอกอน (Ogon) เป็นปลาที่ไม่มีลวดลาย โดยจะมีสีลำตัวสว่างไสว ปราศจากจุดด่างใดๆ
   
           9. ฮิการิ โมโย (Hikari Moyo) เป็นปลาที่มี 2 สี หรือมากกว่า โดยจะมีอย่างน้อยหนึ่งสีที่แวววาวดุจโลหะ (Metallic)
   
           10.ฮิการิ อุจิริ (Hikari Utsuri) เป็นปลาที่มีลาดยพาดสีดำเช่นเดียวกับ อุจิริ โมโน บนพื้นที่มีความแวววาวคล้ายโลหะ
   
           11. คินกินริน (Kinginrin) เป็นปลาที่อยู่ในกลุ่มที่มีประกายเงินหรือทองอยู่บนเกล็ด โดยเกล็ดจะดูนูนเหมือนไข่มุก
   
           12. ตันโจ (Tancho)  เป็นปลาที่มีสีแดงเพียงที่เดียวอยู่บนหัว โดยอาจมีรูปทรงกลมขนาดใหญ่ หรือรูปอื่นๆก็ได้
   
           13. คาวาริ โมโน (Kawari Mono) เป็นปลาที่ไม่มีลักษณะลวดลายที่ตายตัว ต่างจากพันธุ์อื่นๆ โดยจะมีลวดลายเกิดขึ้นใหม่ทุกปี

 การเริ่มต้นเลี้ยงปลาคาร์พ

           ใครที่ตัดสินใจจะเลี้ยงปลาคารพ์ ควรเริ่มต้นด้วยการขุดบ่อขนาด 80 x 120 ลึก 50 เซนติเมตร มีสะดือที่ก้นบ่อขนาด 1 x 2 ฟุต ลึกประมาณ 4-6 นิ้ว เพื่อไว้เป็นที่เก็บขี้ปลาและสิ่งสกปรก และติดตั้งระบบถ่ายเทน้ำเสียเพื่อช่วยให้น้ำในบ่อสะอาดอยู่ตลอดเวลาด้วย สำหรับบ่อที่จะใช้เลี้ยงปลาคาร์ฟ ควรเป็นบ่อซีเมนต์เพราะสามารถดัดแปลงเป็นบ่อธรรมชาติได้ง่าย มีตะใคร่น้ำเกิดและเกาะได้เร็ว ซึ่งตะใคร่น้ำนั้นจะเป็นอาหารที่ดีของปลาและสามารถดูดสิ่งสกปรหและแอมโมเนียที่อยู่ในน้ำได้อีกด้วย

           และบ่อนี้ควรจะตั้งอยู่ในที่มีร่มเงาต้นไม้ใหญ่ได้ร่มรื่นพอควร อย่าให้อยู่กลางแจ้งเพราะจะทำให้ปลามีสัสันที่จืดจางลง และยังโตช้าลงไปอีกด้วย

           ส่วนน้ำที่จะใช้เลี้ยงปลาคาร์พ เป็นน้ำประปาจะดีกว่าน้ำชนิดอื่น เพราะน้ำประปามีสภาพเป็นกลาง ถ้าใช้น้ำฝนจะทำลายสีของปลาและปลาอาจเกิดโรคได้ง่าย ส่วนน้ำจากแม่น้ำลำคลองก็ไม่เหมาะ เพราะอาจมีเชื้อโรคติดมาเป็นอันตรายกับปลาได้ หากไม่มีน้ำประปา ต้องใส่ยาฆ่าเชื้อและเติมปูนขาวเพื่อปรับสภาพน้ำจากกรดให้เป็นกลางเสียก่อน แล้วค่อยนำมาเลี้ยงปลาได้    ทางที่ดีต้องติดตั้งระบบหมุนเวียนของน้ำ และเครื่องพ่นน้ำ เป็นการเพิ่มออกซิเจนให้น้ำในบ่อถ่ายเทอยู่ตลอดเวลา และมีออกซิเจนเพียงพอกับปลาด้วย

           เมื่อเตรียมบ่อและน้ำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว การจะหาปลาคาร์ฟมาเลี้ยง ควรหาลูกปลาที่มีอายุ 1-2 ปี มาเลี้ยง ไม่ควรจะนำปลาขนาดใหญ่มาเลี้ยง และปลาชนิดอื่นหากไม่จำเป็นไม่ควรนำมาเลี้ยงรวมกับปลาคาร์ฟ เพราะอาจนำเชื้อโรคมาให้ปลาคาร์ฟได้

 อาหารและการเลี้ยงดู

           ผู้เลี้ยงควรให้อาหารไม่เกินวันละ 2 เวลา คือเช้ากับเย็น ข้อควรจำในการให้อาหารคือ ต้องให้ตามเวลา เพื่อปลาจะเกิดความเคยชินและเชื่องกับผู้ที่เลี้ยง และอาหารที่ให้ต้องกะให้พอกับจำนวนปลา อย่าให้น้อยหรือมากเกินไป ทั้งนี้ต้องคอยสังเกตว่า ปลากินอาหารอย่างไร? ถ้าอาหารหมดเร็ว แสดงว่าปลายังต้องการอาหารเพิ่ม ก็เพิ่มลงไปอีเล็กน้อย แต่ถ้าอาหารยังลอบน้ำอยู่ ก็รีบตักออกเพราะว่าถ้าปล่อยทิ้งไว้จะทำให้น้ำเสียเร็ว

           สำหรับอาหารที่ให้ แนะนำเป็นเนื้อปลาป่น กุ้งสดบด เนื้อหอย เนื้อปู ปลาหมึก ข้าวสาลี รำ ผักกาด ข้าวโพด แมลง สาหร่าย ตะใคร่น้ำ แหน ลูกน้ำ หนอนแดง ถั่วเหลือง ขนมปัง และอาหารสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาด

           ทั้งนี้ เมื่อสังเกตเห็นน้ำในบ่อเริ่มขุ่นและมีสิ่งสกปรกมาก ต้องรีบเปลี่ยนน้ำทันที และขณะที่ถ่ายน้ำ ออก 1 ใน 3 ส่วนของบ่อจะต้องเพิ่มน้ำใหม่แทนในปริมาณเท่าเดิมโดยใช้น้ำประปาที่เก็บไว้ประมาณ 2-3 วันหลังจากที่คอรีนระเหยแล้ว อย่าใช้น้ำประปาที่รองจากก๊อกใหม่ๆ หรือน้ำประปาที่เก็บไว้นานเพราะจะเกิดอันตรายต่อปลาได้

 โรคและการรักษา

           1.โรคโซโคลกิต้า เกิดจากการถ่ายน้ำในบ่อบ่อยครั้งเกินไป การย้ายปลาบ่อยครั้งเกินไป เชื้อโคลกิต้าที่อยู่ในน้ำจะทำลายปลา ทำให้เกิดเป็นแผลขุ่นที่ผิวหนังและตายไปในที่สุด

           วิธีรักษา : ควรใช้เกลือป่นและด่างทัทิมละลายละลายให้เจือจางลงในน้ำ เพื่อฆ่าเชื้อโซโคลกิต้า ก่อนจะนำไปใช้เลี้ยงปลา สำหรับในรายที่ปลาเป็นโรคนี้ ให้แช่ปลาในน้ำยานี้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง

           2.เหงือกเน่า เกิดจากเชื้อราคอลัม พาริส ทำให้ปลามีอาการซึม และกินอาหารได้น้อยลง ไม่มีแรงว่าย

           วิธีรักษา : ใช้ยาปฏิชีวนะ ออริโอมัยซินผสมกับอาหาร ในอัตราส่วน 1 ช้อนต่ออาหารปลา 1 ขีด ให้ปลากินติดต่อกัน 3-4 วัน และจับปลาที่มีอาการมากในน้ำที่ผสมกับฟูราเนสเป็นเวลา 10 นาทีทุกวัน จนปลามีอาการดีขึ้น

           3.หางและครีบเน่า  เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในน้ำซึ่งเนื่องมาจากปลาขี้และเศษอาหาร ที่ตกค้างอยู่ในบ่อทำให้ครีบและปลายหางหลุดหายไป และจะลามไปทั่วตัว

           วิธีรักษา : ต้องรีบถ่ายน้ำ ทำความสะอาดบ่อโดยเร็วพร้อมกันนั้น ใช้มาลาไคท์กรีนผสมกับน้ำในอัตรา 1 ขีด ต่อน้ำ 1 ลิตร จับปลาแช่ในน้ำดังกล่าวติดต่อกัน 3-4 วัน จนดีขึ้น

           4.เนื้อแหว่ง  เกิดจากปลาได้รับบาดเจ็บเพราะถูกหินหรือต้นไม้ในบ่อ จนเป็นแผลแล้วเชื้อโรคจากน้ำที่สกปรกเกาะตามผิวหนัง ทำให้เกล็ดหลุดแล้วมีจุดขาวๆ ตามลำตัวเกาะติดตามผิวหนัง ทำให้เกิดอาการอักเสบบวมเป็นรอยช้ำเลือด จนตายไปในที่สุด

           วิธีรักษา : ใช้ยาปฏิชีวนะออริโอมัยซิน ผสมกับอาหารในอัตรา 1 ช้อนชา ต่ออาการ 1 ขีด ให้ปลากินติดต่อกันจนหายขาด

           5.เชื้อราบนผิวหนัง  เกิดจากเชื้อราแพร่กระจายบนผิวหนังปลา ทำให้เนื้อปลาเน่าเปื่อย ถ้าไม่รีบเร่งรักษาปลาจะตายเร็ววัน

           วิธีรักษา : นำปลามาแช่ในน้ำที่เจือด้วยเกลือป่นจางเอาสำลีชุบน้ำยาฟูราเนสทำความสะอาด ที่บาดแผลแล้วจับปลาแช่ในน้ำผสมยา ฟูราเนสติดต่อกัน 5-7 วัน จนกว่าปลาจะหายขาด

           6.ผิวหนังขุ่น เกล็ดพอง เกิดจากการที่ให้อาหารที่มีโปรตีนและไขมันมากเกินไป ปลาปรับตัวไม่ทัน จะทำให้ระบบย่อยอาหารของปลาไม่ทำงาน ตามผิวหนังจะเห็นรอยเส้นเลือดขอดขึ้น ผิวหนังเริ่มบวมและอักเสบ

           วิธีรักษา : ต้องแช่ปลาในน้ำเกลือจางๆ และให้กินอาหารผสมด้วยยาปฏิชีวนะออริโอมัยซิน และให้กินอาหารประเภทผักเสริมมากกว่าเดิม

           7.ลำใส้อักเสบ  เกิดจากการที่ปลากินอาหารหมดอายุ มีเชื้อราปนอยู่ในอาหาร อาการเช่นนี้จทำให้ปลาไม่ค่อยกินอาหาร มีมูกเลือดปนออกมากับอุจจาระ บางครั้งจะถ่ายออกมาเป็นน้ำขุ่นๆ

           วิธีรักษา :  ต้องรีบทิ้งอาหารเก่าทั้งหมด เอาปาขึ้นมาแช่น้ำเกลือที่เจือจาง แล้วให้อาหารอ่อนๆ เช่น ลูกไรแดงหรือเนื้อปลาบดอ่อน แล้วค่อยให้อาหารสำเร็จรูปตามปกติ

           8.เห็บ  เกิดจากตัวที่ติดมากับอาหารประเภทผัก ซึ่งขาดการทำความสะอาดอย่างถูกต้อง และติดตัวมากับปลาตัวใหม่ ตัวเห็บนี้มักจะเกาะอยู่ใต้เกล็ดปลา ดูดเลือดปลาเป็นอาหาร ทำให้ปลาว่ายน้ำติดขัดไม่สะดวก ปลาจะเอาตัวถูตามผนังบ่อหรือเศษหินภายในบ่อ จนเกิดบาดแผลในเวลาต่อมา

           วิธีรักษา : ใช้น้ำยามาโซเต็นผสมลงในบ่อเพื่อป้องกัน ทำลายตัวเห็บติดต่อกันราว 2-3 อาทิตย์ แล้วค่อยหยุดใช้ยา

           9.หนอนสมอ ศัตรูร้ายอีกชนิดหนึ่งของปลาคือ หนอนรูปร่างคล้ายสมอ ยาวเหมือนเส้นด้าย มันจะเจาะผนังตัวปลาทำให้ติดเชื้อได้ และตามผิวหนังปลาจะมีรอยสีแดงเป็นจ้ำๆ ครีบและเหงือกจะอักเสบ ปลามีอาการซึมเบื่ออาหาร

           วิธีรักษา : เช่นเดียวกับการรักษาเห็บ กล่าวคือ นำน้ำยามาโซเต็นผสมกับน้ำ จับปลาแช่น้ำยาทุกๆ 3 วัน จนกระทั่งปลามีอาการดีขึ้น และในบ่อเลี้ยงก็ควรหยดน้ำยานี้ลงฆ่าทำลายไข่ตัวหนอนสมอด้วย

           10.พยาธิเส้นด้าย  ติดมาจากอาหาร ลูกน้ำหนอนแดง ที่ปลากินเข้าไป จะเจาะเข้าไปเจริญเติบโตในตัวปลา และออกมาสร้างรังตามผิวหนังใต้เกล็ดปลา ทำให้ผิวหนังปลาแดงช้ำๆ

           วิธีรักษา : ให้นำปลาไปแช่ในน้ำเกลือที่เจือจางประมาณ 1-2 วัน พยาธิก็จะตายและปลามีอาการดีขึ้นและควรใส่น้ำยามาโซเต็นผสมลงในบ่อ เพื่อฆ่าใข่ของมันด้วย

 
 
ม่มีเอกสารหรือหลักฐานหลงเหลือให้เห็นว่ามนุษย์เริ่มร้จักการนำปลาสวยงามมาเลี้ยงในที่เลี้ยงตั้งแต่เมื่อไรตั้งแต่ครั้งแรก แต่เป็นเชื่อแน่ว่ามนุษย์รู้จักวิธีที่จะเก็บรักษาเนื้อปลาไว้เป็นอาหารในเมื้อต่อๆไปในหลายรูปแบบ เช่น ย่าง รมควัน หมักเกลือ ฯลฯ นานก่อนจะเรียนรู้วิธีเลี้ยงปลาอย่างแน่นอน และสิ่งหนึ่งที่น่าแปลกใจก็คือ มนุษย์รู้จักการเลี้ยงปลาและฝึกเลี้ยงสัตว์หลายชนิดก่อนที่จะมาสนใจถึงการเลี้ยงปลา เช่น เช่นสุนัขที่ถูกมนุษย์จับมาเลี้ยงและฝึกให้เชื่องได้มีหลักฐานอย่างแน่ชัดว่าได้ดำเนินติดต่อกันมาไม่น้อยกว่าหมื่นปีหรือแม้แต่แพะถูกเลี้ยงมาไม่น้อยกว่าเจ็ดพันปีทีเดียว บางทีอาจเป็นไปได้มากกว่าอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อการเลี้ยงปลาอย่างเช่น บ่อ เป็นต้น ไม่หลงเหลือหลักฐานมาถึงปัจจุบันบ่อที่เก่าที่สุดเท่าที่นักโบราณคดีค้นพบคือ บ่อในยุคสุเมเรีย ซึ่งมีอายุประมาณ 4,500 ปีแล้ว
anistar_blue.gif่วนใหญ่แล้วบ่อในยุคนี้เท่าที่ค้นพบจะแย่ในศ่าสนาสถานและคาดว่าจะเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนาของยุคนั้น แต่อย่างไรก็ดียังมีการค้นพบบ่อซึ่งคาดว่าเป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลและมีหลักฐานว่าที่ใช้เป็นที่เก็บกักขังปลา เพื่อใช้เป็นอาหารอย่างแน่นอน และจากสภาพของบ่อที่ปรากฏให้เห็นก็มิใช่บ่อเลี้ยงหรือบ่อสำหรับเพาะพันธุ์ปลาการค้นพบทางโบราณคดียังชี้ลงไปอีกว่าชาวอัสซีเรียก็มีบ่อสำหรับกักตุนปลาเป็นอาหารสด เช่นเดี่ยวกัน img1.jpgและคาดว่าชาวบาลิโลนก็คงจะมีบ่อในทำนองเดียวกันนี้อีก ส่วนชาวอียิปต์โบราณเมื่อสามพันปีมาแล้ว มีบ่อสำหรับตกปลาเป็นอาหารนอกเหนือจากบ่อเลี้ยงปลา ปลาที่ชาวอียิปต์เลี้ยงในยุคนั้นคือปลาไน ปลาในสกุล ทิลาเปีย (สกุลปลานิล) และหลักฐานที่หลงเหลืออยู่ก็มีคันเบ็ดที่ใช้ตกปลานั่นเอง จึงเป็นที่แน่ชัดว่าการเลี้ยงปลาในยุคนั้นเป็นไปเพื่อการยังชีพ





ชาติแรกที่ร้จักการเพาะเลี้ยงปลาคือ "จีน"  และเชื่อกันว่าชาวจีนรู้จักการเลี้ยงปลาคาร์พในบ่อมาก่อนพุทธศักราชไม่น้อยกว่า 500 ปี แต่กิจการการเลี้ยงปลาคาร์พในบ่อมีการทำเป็นล่ำเป็นสันและยึดเป็นอาชีพก็เกือบพุทธศักราชที่ 500 ทีเดียว ส่วนโรมันได้ชื่อว่าเป็นชาติแรกที่รู้จักการเลี้ยงปลาทะเลในฐานะเป็นสัตว์เลี้ยงความร้ทางด้านการเลี้ยงปลาในที่ จำกัดจะแพร่จากชาวโรมันไปส่กรีกและอียิปต์ต่อมาในเวลาไม่นานเพราะมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรปรากฏไว้เป็นข้อความสั้นๆ ในขณะที่หลักฐานการเลี้ยงปลาทะเลของชาวโรมันก็ริเริ่มเลี้ยงปลา เพื่อใช้เป็นอาหารสดเหมือนชาวจีน รวมทั้งมีการเพาะฟักไข่ปลาให้เป็นตัวได้แสดงว่าชาวโรมันก็มีเทคนิคไม่น้อยเหมือนกัน ประมาณพุทธศตวรรษที่ 475 การเลี้ยงปลาทะเลในบ่อของชาวโรมันก็กลายเป็นแฟชั่นสำหรับเศรษฐีในยุคนั้นๆ หนังสือระบุไว้ว่ามีเศรษฐีชาวโรมันคลั่งไคล้การเลี้ยงปลาทะเลคนหนึ่งถึงกับลงทุนสร้างอุโมงผ่านภูเขาเพื่อเป็นทางลำเลียงน้ำทะเลมายังบ่อปลาในบ้าน นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าถึงวิธีการลงโทษทาสในสมัยนั้นของเศรษฐีชาวโรมันคือการจับทาสโยนลงไปในบ่อ ซึ่งเลี้ยงปลาไหลทะเลเพื่อให้เป็นอาหารของปลาเศรษฐี บางคนถึงกับลงทุนทำเครื่องประดับเพชรให้กับปลาไหลทะเลที่เลี้ยงไว้ในบ้าน

   anidia_pink.gif ในยุคกลางของยุโรปตามโบสถ์หรือพระราชวังมักจะมีบ่อเลี้ยงปลาเป็นเครื่องประดับสถานที่กันแพร่หลาย แต่ยุโรปยังใช้เทคนิคระดับต่ำในการเลี้ยงดูและเพาะเลี้ยงปลาจนกระทั่งมาถึงตอนต้นของพุทธศตวรรษที่ 16 พระรูปหนึ่งในคริสศาสนาชื่อ ดอม ปินโซล เป็นบุคคลแรกที่สามารถทำการผสมเทียมปลาได้สำเร็จ แต่ยังไม่มีใครรู้มากนัก เพราะบันทึกพิมพ์ส่สาธารณะก็เมื่อปี พ.ศ. 2393 อย่างไรก็ดีท่านก็สมควรได้รับการยกย่องที่สามารถวางรากฐานผสมเทียมปลาเอาไว้ให้คนร่นหลังได้พัฒนาต่อไป


<>f_octopus_blue.gif
f_octopus_blue.gif
 anitomato_red.gifนขณะเดี่ยวกันทวีปเอเซียก็มิได้น้อยหน้าทางยุโรปเลย ชาวจีนสามารถสร้างปลาสวยงาม ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีทั่วโลกได้ นั่นคือ ปลาเงินปลาทองในยุคนี้จีนถูกปกครองโดยราชวงศ์ซุง (พ.ศ. 1503-1821) เชื่อกันว่าชาวจีนใช้ปลาไนเป็นต้นกำเนิดให้กับปลาเงินปลาทองโดยการเพาะเลี้ยงและคัดสายพันธุ์อย่างละเอียดถี่ถ้วนบวกกับความเอาใจใส่ในการเลี้ยงดูและความอดทนต่อผลสำเร็จเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ปลาเงินปลาทองจึงถือกำเนิดขึ้นมาในเวลาไล่เลี่ยกับปลาคาร์พสีสวยเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยงสีสวยงามที่น่ารักของมนุษย์

บรรพบุรุษของปลาคาร์พนั้นเชื่อกันว่าคือปลาไนสามัญ(Cyprinus carpio ) มีถิ่นกำเนิดในบริเวณที่เป็นประเทศอิหร่านเวลานี้ ต่อมาพ่อค้าที่เดินทางค้าขายกับตะวันออกไกลได้นำเข้ามาสู่ประเทศจีน ญี่ปุ่นและยุโรปตะวันตก เป็นเวลาหลายพันปีมาแล้ว ปลาแฟนซีคาร์พถูกเพาะพันธุ์ขึ้นมาสำเร็จในประเทศญี่ปุ่นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2368 ณ. เมืองโอจิย่า ในเขตการปกครองนิอิกาต้าชาวญี่ปุ่นสมัยโบราณเลี้ยงปลาไนเอาไว้เป็นอาหารรับประทานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูหนาวที่อาหารเนื้อสัตว์และโปรตีนคาดแคลนมาก

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ปลาเปคู

                          รู้จักหรือยัง ปลาเปคู

ปลาเปคู
เป็นปลาน้ำจืด มีรูปร่างเหมือนกับปลา ปิรันยา แต่มีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า 
กรามล่างไม่ยื่นยาวออกมา และลักษณะของฟันไม่แหลมคมเหมือนกับ ปลาปิรันยา 
ปลาเปคู มีขนาดโตเต็มที่ยาวได้ 80 เซนติเมตร น้ำหนัก หนักถึง25กิโลกรัม

มีถิ่นกำเนิดในลุ่มแม่น้ำอเมซอน และแม่น้ำโอริโนโคในประเทศอาเจนตินา
นิยมอยู่รวมกันเป็นฝูง กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ 
โดยเฉพาะพืชเช่นเมล็ดพืชหรือลูกไม้ที่ล่วงหล่นจากต้น
โดยจะไปรอกินถึงบริเวณผิวน้ำเลยทีเดียว

เป็นปลาที่นิยมนำมาทำอาหารของคนพื้นถิ่น 
ปลาชนิดนี้ถูกนำเข้ามาในฐานะปลาเศรฐกิจที่ทางกรมประมง 
ส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยง โดยมีชื่อเรียกว่า "ปลาจาระเม็ดน้ำจืด" 
เพราะมีรูปร่างคล้ายปลาจาระเม็ดในทะเล เป็นปลาที่โตไว เลี้ยงง่าย
ผสมพันธุ์ง่าย อีกทั้งมีเนื้อรสชาติอร่อยสุดๆ โดยเฉพาะต้มยำ

ปลาช่อนอเมซอน

                          การเพาะเลี้ยง ปลาช่อนอเมซอน

ปลาช่อนอเมซอน


          ปลาช่อนอเมซอน เป็นปลากินเนื้อที่เจริญเติบโตได้เร็วมาก เมื่อ ปลาช่อนอเมซอน มีอายุได้ประมาณ 4-5 ปี ก็จะถึงวัยสืบพันธุ์ การสังเกตเพศผู้เพศเมียของ ปลาช่อนอเมซอน ถ้าดูจากภายนอกจะดูยาก แต่สามารถดูในฤดูผสมพันธุ์คือช่วงเดือนธันวาคมถึงพฤษภาคม ปลาช่อนอเมซอน เพศเมียที่มีไข่บริเวณท้องจะขยายใหญ่ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ส่วนเพศผู้หัวและลำตัวจะมีสีเข้มและสีแดงอมส้มแถบโคนหาง 

          ทั้งนี้ ปลาช่อนอเมซอน ตัวเมียจะวางไข่ในเดือนมกราคมถึงมีนาคม มันจะสร้างรังใต้น้ำลึกประมาณ 40-50 ซม. ตัวเมีย 1 ตัววางไข่ได้ประมาณ 100,000 ฟอง และจะใช้เวลาประมาณ 5 วันในการฟักออกเป็นตัว เมื่อฟักไข่แล้ว แม่ปลาก็จะดูแลตัวอ่อนไว้ในปาก ส่วนตัวผู้ก็จะช่วยกันดูแลและป้องกันอันตรายจนกว่าลูกปลาจะเจริญเติบโตและช่วยตัวเองได้
 อาหารและการเลี้ยง ปลาช่อนอเมซอน
          ในธรรมชาติ ปลาช่อนอเมซอน จะอาศัยอยู่ในลุ่มน้ำอเมซอน มันจะกระโดดขึ้นมากินนกที่เกาะอยู่บนต้นไม้เตี้ย ๆ ในตู้ปลาอาหารหลักของปลาอะราไพม่าคือ ปลาสดโดยเฉพาะปลาเป็น ๆ เช่น ปลานิล, ปลากัด, ปลาทอง, ลูกกบ หรือไม่ก็เนื้อหมู, เนื้อไก่ เนื้อปลาก็ได้ สำหรับผู้เลี้ยงนิยมใช้ปลาทองที่พิการมีการซื้อขายกันในราคาถูก ในระยะแรกก็กินน้อย วันละ 3-5 ตัว ต่อมาเมื่อปลาโตขึ้นก็กินมากขึ้น

          จากความน่าสนใจของ ปลาช่อนอเมซอน ดังที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้มีผู้เลี้ยงปลาชนิดนี้กันมาก ราคาซื้อขายสำหรับปลาขนาด 5-6 นิ้ว ตกราคาตัวละไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท ยิ่งเป็นปลาระดับความยาวเกิน 12 นิ้วขึ้นไป ราคาไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท ผู้เลี้ยงปลามักจะสร้างตู้กระจกขนาดใหญ่เพื่อใส่ ปลาช่อนอเมซอน อาจจะเลี้ยงเพียงตัวเดียวหรือจะเลี้ยงรวมกับปลาอะโรวาน่าก็ไ

ปลาสิงโต

                                               ปลาสิงโต



เพื่อนๆค่ะ เคยเห็นปลาทะเลที่รูปร่างหน้าตาแปลกประหลาดมั้ยค่ะ คนชอบปลาจะแนะนำปลาหน้าตาแปลกๆนี้ให้เพื่อนๆได้รู้จัก ได้แก่ ปลาสิงโต  





ชื่อสามัญ  Lion Fish

ชื่อวิทยาศาสตร์  Pterois antennata

ขนาดลำตัว 8-13 ซม.

ปลาสิงโต เป็นปลามีพิษซึ่งพิษอยู่ที่ก้านครีบ ปลาสิงโตจะอยู่ในครอบครัว Scorpaenidae ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่
  1. ปลาสิงโต ( Pteroinae ) และ 
     2.ปลาหินและปลาแมงป่อง ( Scorpaeninae )
ทั้งหมดนี้จะเป็นปลามีพิษร้ายแรง โดยที่พิษจะอยู่ที่ครีบแข็งทั้งหลาย เช่น ครีบอก ครีบหลัง พิษพวกนี้มีไว้ให้ป้องกันตัวอย่างเดียว เมื่อมีอันตรายเข้าใกล้ ปลาสิงโตจะกางครีบ เป็นการข่มขู่ แต่จะไม่ค่อยออกมาโจมตี หรือเอาครีบทิ่มแทงใคร

ปลาสิงโต ชอบอำพรางตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ถ้าไปโดนพิษส่วนใหญ่จะเจ็บจี๊ดแล้วปวดขึ้นเรื่อยๆ

ข้อแนะนำ ถ้าโดนพิษปลาสิงโต ให้ทำความสะอาดแผล แล้วใช้ความร้อนเข้าสู้ พิษของปลาพวกนี้จะเป็นโปรตีน เมื่อโดนความร้อนจะสลายไป อาจจะใช้ไดร์เป่าผม น้ำอุ่น กระเป๋าน้ำร้อน หรืออะไรก็ได้ที่ร้อนๆประคบไว้ อาจจะใช้วิธีอังไฟก็ได้นะค่ะ ปรกติจะปวดประมาณ 24 ชม.แล้วจะค่อยๆ เบาลง

ลัษณะทั่วไป
  • ปลาตัวนี้จะมีลำตัวที่หนา มีครีบที่แข็งทั้งยังเป็นพิษร้าย บริเวณหัวจะมีหนามแหลม แต่บางตัวจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกันออกไป เช่น ผิวหนังตามหัว และลำตัวเป็นแผ่นยื่นออกมากซึ่งคล้ายกันปลาพันธุ์นี้มีหนวด การว่ายน้ำค่อนข้างเชื่องช้าชอบนอนนิ่งอยู่ตามพื้น ปลาสิงโตบางตัวมีสีที่กลมกลืนกับสีของพื้นทะเลซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการอำพรางตัวเพื่อล่าอาหารอีกด้วย
ปลาสิงโต ชนิดที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่

              1.ปลาสิงโตครีบยาว หรือปลาสิงโตธรรมดา ชื่อสามัญ  Ragged-Finned lionfish  ปลาสิงโตพันธุ์นี้จะมีจุดเด่น คือ ครีบของปลาค่อนข้างยาว บริเวณลำตัวจะเป็นลายแดงสลับแถบขาว ส่วนครีบของปลามีลักษณะเป็นหนวดยาว พบได้ทั้งมีสีขาว และลายบ้างเล็กน้อย
              2.ปลาสิงโตลายขาว    ชื่อสามัญ White-lined lionfish  ปลาสิงโตลายขาวจะเหมือนกับปลาสิงโตครีบยาว บริเวณลำตัวจะมีลายสีขาวเส้นเล็กๆคาดบริเวณลำตัว หนวดนั้นส่วนใหญ่จะพบเป็นสีขาว มีข้อแตกต่างจากปลาสิงโตครีบยาว คือจะมีลายเส้นขาวเล็กๆพาดตามตัวเป็นหลัก

อาหาร ปลาสิงโตจะลอยตัวนิ่งๆพุ่งเข้าชาร์ทเพยื่อด้วยความเร็วสูง กินปลาเล็ก หรือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกกุ้ง ปู เป็นอาหาร

 ปลาสิงโต สามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าปากของมัน โดยสามารถเลี้ยงรวมกับ กลุ่มปลาเก๋า ปลากระพง หรือปลาสร้อยนกเขาชนิดต่างๆ แม้กระทั่งในกลุ่มปลาหิน หรือปลานกขุนทอง ปลาตาหวาน ก็ได้

ปลาที่ไม่เหมาะที่จะเลี้ยงรวมกับปลาสิงโต ได้แก่ ปลาเล็กๆ หรือปลาที่ชอบแทะเล็มปลาอื่น ได้แก่ ปลาผีเสื้อ ปลาขี้ตังเบ็ด เพราะปลาพวกนี้ชอบไล่ตอด ทำให้ปลาสิงโตเกิดความรำคาญและเป็นแผลได้

เพื่อนๆค่ะ จริงๆแล้วปลาสิงโต หรือสัตว์มีพิษทุกตัวที่อยู่ในทะเล คงไม่คิดอยากที่จะทำร้ายใครเพียงแต่เขาป้องกันตัวเองเท่านั้น คนชอบปลา อยากชวนเพื่อนๆมาลองเลี้ยงปลาสิงโต ด้วยกันมั้ย

ปลาเสือพ่นนำ้


ปลาเสือพ่นน้ำ

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Toxotes  chatareus  (Hamilton, 1822)
ชื่อสามัญ          Archer fish

ลักษณะทั่วไปของปลาเสือพ่นน้ำ
                  ปลาเสือพ่นน้ำเป็นปลาที่มีลักษณะเด่น คือ ส่วนหัว และลำตัว ประกอบด้วยจุดสีดำกลม หรือรี จำนวน 6-7 จุด ครีบหางตัดตรงมีสีส้มอมเหลือง ครีบหลัง และครีบก้นมีสีเหลืองขอบเป็นสีดำ จะงอยปากแหลม  ตามี ขนาดใหญ่ค่อนไปทางด้านบน จึงมีความสามารถมองเห็นเหนือผิวน้ำได้ดี ขากรรไกรล่างยาวกว่าขากรรไกรบนเล็กน้อย ลำตัวรูปทรงขนมเปียกปูน ป้อมสั้น แบนข้าง โดยเฉพาะท้องแบนเป็นสัน บริเวณท้องมีสีเงิน ลำตัวสีเหลืองลายดำเหมือนเสือ จึงได้ชื่อว่า ปลาเสือ มีขนาดลำตัวทั่วไปยาวเฉลี่ยไม่เกิน 20 ซมขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบยาว 25 ซมการแยกเพศสังเกตจากลักษณะภายนอก เพศเมียมีช่วงท้องยาวกว่าเพศผู้ ปลาเสือพ่นน้ำ เป็นปลาที่ชอบว่ายน้ำขึ้นมาตามผิวน้ำหรือระดับใต้ผิวน้ำพอดี การเคลื่อนที่ในระยะยาวมักเคลื่อนไปในแนวเส้นตรง และมองเห็นน้ำแตกแยกเป็นทางที่ปลายขอบกระพุ้งแก้ม จนทำให้สามารถรู้ว่ามีปลาว่ายน้ำในบริเวณนั้น การที่ปลาเสือพ่นน้ำ มีนิสัยว่ายน้ำแบบนี้เนื่องจาก ปลาต้องคอยมองหาเหยื่อที่จะกินเป็นอาหารส่วนมากเป็นแมลงขนาดเล็ก ๆ และอีกประการหนึ่งเนื่องจากปลาอาศัยอยู่ในบริเวณปากอ่าวปากแม่น้ำที่น้ำมีความขุ่นสูง ทำให้ประสิทธิภาพการใช้สายตาในน้ำมีจำกัด ปลาเสือพ่นน้ำเป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง กินอาหารจำพวก แพลงก์ตอนสัตว์ โรติเฟอร์ ตัวอ่อนแมลงน้ำ ลูกกุ้ง สัตว์จำพวกมด และแมลง สามารถฝึกให้กินเนื้อปลาสับ และอาหารเม็ดสำเร็จรูปได้  นอกจาก นี้ปลาเสือพ่นน้ำมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับการกินแมลง โดยมีวิวัฒนาการทำให้เหงือกเกิดช่องใต้เพดานปาก เพื่อสามารถพ่นน้ำออกไปได้เป็นลำด้วยแรงอัดของแผ่นปิดเหงือก
 การแพร่กระจาย
                  ปลาเสือพ่นน้ำ เป็นปลาที่พบแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในประเทศแถบตะวันออก เช่น หมู่เกาะฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย พม่า และอินเดีย ในประเทศไทยพบอยู่ตามแม่น้ำ และลำคลอง หนอง บึง ที่มีการเชื่อมต่อกับแม่น้ำ และพบมากในบริเวณปากแม่น้ำ ปลาเสือพ่นน้ำพบชุกชุมในเขตภาคกลาง และภาคใต้  
การเพาะพันธุ์ปลาเสือพ่นน้ำ
 การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
                  การแยกเพศปลาเสือพ่นน้ำสังเกตจากลักษณะภายนอก คือปลาเสือพ่นน้ำเพศผู้ลำตัวเพรียว ช่วงท้องแคบ และสีครีบก้นเป็นสีดำเข้มกว่าปลาเสือพ่นน้ำเพศเมีย ควรมีขนาดความยาวไม่น้อยกว่า 16 ซมน้ำหนักตัวโดยประมาณ 90 กรัม อายุของพ่อแม่พันธุ์ควรมีอายุไม่น้อยกว่า  2 ปี
 การผสมพันธุ์
                  การเพาะพันธุ์ปลาเสือพ่นน้ำ ควรใช้พ่อแม่ที่เลี้ยงไว้จนเกิดความชินต่อสภาพแวดล้อมในที่กักขังเมื่อ ดำเนินการคัดเลือกพ่อแม่แล้ว นำพ่อแม่มาใส่ไว้ในตู้กระจก โดยให้อากาศตลอดเวลา ปล่อยในอัตราเพศผู้ต่อเพศเมียเท่ากับ 1:2 ซึ่ง เป็นอัตราที่ให้ผลผลิตลูกปลาจำนวนมากกว่าในอัตราอื่น ๆ และไม่มีความแตกต่างในด้านต่าง ๆ เช่น จำนวนไข่ต่อแม่ อัตราการฟัก และ จำนวนตัวต่อแม่ ตู้กระจกที่ใช้ในเพาะมีขนาด 40x120x45 เซนติเมตร เลี้ยงโดยให้ลูกปลามีชีวิตขนาดเล็กกินเป็นอาหาร โดยให้ วันต่อครั้ง ทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำทุก วัน ในปริมาณ ใน ส่วนของน้ำในตู้ ซึ่ง น้ำที่ใช้ในการเปลี่ยนถ่ายต้องทำการพักไว้ก่อน ๆ นำไปใช้ควรมีการตรวจวิเคราะห์คุณสมบัติของน้ำ และทำการปรับคุณสมบัติของน้ำโดยเฉพาะอุณหภูมิ และค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ให้มีค่าใกล้เคียงกับคุณสมบัติของน้ำในตู้ การเปลี่ยนถ่ายน้ำต้องทำอย่างระมัดระวัง เนื่องจากปลาเสือพ่นน้ำเป็นปลาที่ตื่นตกใจง่าย และควรตั้งตู้เพาะไว้ในบริเวณที่ไม่มีเสียงดัง เพราะปลาเสือพ่นน้ำเป็นปลาที่ตื่นตกใจได้ง่าย ในการเพาะพันธุ์ พบว่าปลาเสือเริ่มผสมวางไข่ในช่วงตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ โดยไข่เป็นประเภทไข่ลอย เมื่อแม่ปลาวางไข่ พบว่าไข่จะลอยอยู่บริเวณผิวน้ำ และกระจายเต็มตู้ ไข่มีสีขาวอมเหลืองใส ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-0.8 มิลลิเมตร ใช้เวลาการฟักประมาณ 14-16 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิน้ำ 27-29 องศาเซลเซียส
การอนุบาลลูกปลา
                  เมื่อลูกปลาฟักออกเป็นตัวในระยะ 2 วัน แรก ยังไม่ต้องให้อาหารลูกปลา เนื่องจากลูกปลาใช้อาหารจากถุงอาหารสำรองที่ติดตัวตั้งแต่เกิดและควรแยกลูกปลาออกไปอนุบาลก่อนที่ลูกปลาจะเริ่มกินอาหาร อาหารลูกปลาในระยะแรกควรให้ โรติเฟอร์กินเป็นอาหารเนื่องจากลูกปลาเสือที่เกิดใหม่มีขนาดเล็ก โดยมีขนาดความกว้างของปากประมาณ 210 ไมครอน  ให้อาหารวันละ 3เวลา ในปริมาณที่มากเกินพอ ตลอดระยะเวลาการอนุบาล ไม่ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำ เพราะลูกปลาเสือมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ำ เมื่อลูกปลามีอายุครบ 8 วัน ควรปรับเปลี่ยนอาหารเป็นพวกไรน้ำขนาดเล็ก เช่น ไรแดง  อนุบาลลูกปลาจนครบ 45 วัน ลูกปลาเสือพ่นน้ำมีลักษณะเหมือนพ่อแม่พันธุ์  ลูกปลามีความยาวประมาณ 2 ซมซึ่งสามารถนำไปอนุบาลต่อในบ่อดิน

ปลาหางนกยูง

1 ประวัติของปลาหางนกยูง               
                ปลาหางนกยูงมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้   แถบ เวเนซูเอลล่า หมู่เกาะคาริเบียนของประเทศบาร์บาโดส และ ในแถบลุ่มน้ำอเมซอน ในธรรมชาติอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด และ น้ำกร่อยที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งจนถึงน้ำไหลเอื่อย ๆ เป็นปลาที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับปลากินยุง (Mosquito  Fish)   ซึ่งเป็นกลุ่มปลาที่มีอวัยวะช่วยหายใจ   ทำให้สามารถอยู่ในน้ำที่มีออกซิเจนน้อยๆได้ดี   ในระยะเริ่มแรกนิยมใช้ปลากลุ่มนี้ในการนำไปช่วยกำจัดยุงลาย   เนื่องจากมีคุณสมบัติที่พิเศษถึง  2  ประการ  คือ  ประการแรกมีความอดทน   เนื่องจากมีอวัยวะช่วยหายใจที่เรียก  Labyrinth  organ   ทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในน้ำที่เริ่มเน่าเสียซึ่งมีปริมาณออกซิเจนต่ำได้  ประการที่สอง  คือ  มีความสามารถแพร่พันธุ์ขยายจำนวนเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว   ปลาหางนกยูงได้ถูกนำเข้าไปทดลองเลี้ยงในประเทศสหรัฐอเมริกา  เมื่อปี  .. 2451   และแพร่หลายไปยังประเทศต่างๆในเขตร้อน   เพื่อใช้ปราบยุงลายช่วยลดปัญหาเรื่องการระบาดของไข้มาลาเรีย   โดยนำไปปล่อยตามแหล่งน้ำขังต่างๆหรือแหล่งน้ำเสียที่มีตัวอ่อนของยุง  ที่เรียกกันว่าลูกน้ำอยู่มากโดยไม่มีปลาชนิดอื่นเข้าไปอาศัยอยู่ได้  เนื่องจากมีปริมาณออกซิเจนไม่เพียงพอ   แต่สำหรับปลาหางนกยูงหรือที่เรียกว่าปลากินยุง   จะสามารถใช้อวัยวะช่วยหายใจนำออกซิเจนจากอากาศมาใช้   จึงทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ นอกจากนั้นยังเป็นปลาที่ชอบกินลูกน้ำ  แล้วแพร่พันธุ์เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว   ทำให้สามารถควบคุมปริมาณลูกน้ำให้ลดลงได้  จึงเป็นการช่วยลดปริมาณยุงลงได้เป็นอย่างดี   หลังจากนั้นจึงเริ่มพัฒนามาเป็นการเลี้ยงเพื่อความสวยงาม  โดยนำปลาหางนกยูงที่มีความสวยงามจากประเทศเวเนซูเอลา      บาร์บาดาส    ทรินิแดด   บราซิล   และกิอานา   เข้าไปดำเนินการเพาะพันธุ์และมีการคัดพันธุ์จนได้ปลาหางนกยูงที่มีความสวยงามหลายสายพันธุ์             
                                                                                                                   
2 การจำแนกทางอนุกรมวิธาน                  
                Nelson (1984)   ได้จัดลำดับชั้นของปลาหางนกยูงไว้ดังนี้    
                    Class                       :  Osteichthyes
                       Order                   :  Cyprinodontiformes (Tooth-carps)
                          Suborder           :  Cyprinodontoidei
                             Family             :  Poeciliidae (Livebearers)
                                Subfamily    :  Poeciliinae
                                   Genus       :  Poecilia
                                      Specie    :  reticulata                          
                                                                                                                   
3 ลักษณะรูปร่างของปลาหางนกยูง                    
                ปลาหางนกยูงจัดว่าเป็นปลาสวยงามขนาดเล็ก   เมื่อโตเต็มที่ปลาตัวผู้มีขนาด 3 - เซนติเมตรส่วนตัวเมียมีขนาด 5 - 7  เซนติเมตร   เป็นปลาที่มีสีสันสวยงามหลายสีแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์   โดยเฉพาะที่ส่วนหางจะมีความแตกต่างกันหลายรูปแบบ   และเฉพาะปลาเพศผู้จะมีครีบหางยาวและสีสันเด่นสะดุดตา
  
 ภาพที่ 1  แสดงลักษณะรูปร่างของปลาหางนกยูง
                                                   ที่มา : http://www.fabioghidini.it/photographs/htm    
                                                                                                                  
4 สายพันธุ์ปลาหางนกยูง             
               ปลาหางนกยูงเป็นปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมเพาะเลี้ยงกันมานาน และแพร่หลายไปแทบทุกประเทศในโลก  ประกอบกับเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัวและสามารถผสมข้ามสายพันธุ์กันได้ง่ายมาก  ทำให้เกิดปลาสายพันธุ์ใหม่ๆขึ้นมาเป็นจำนวนมาก  แต่ก็พอจะจัดกลุ่มของสายพันธุ์ปลาหางนกยูงได้เป็นดังนี้  คือ
                4.1 สายพันธุ์คอบร้า (Cobra)  มีลวดลายเป็นแถบยาวหรือสั้น พาดขวาง พาดตามยาว หรือ พบพาดเฉียงทั่วลำตัวตลอดถึงโคนหาง ลวดลาย คล้ายลายหนังงู  ครีบหางมีมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม (delta tail) รูปพัด (fan tail) หรือ หางบ่วง (lyre tail)  มีหลากหลายและหลากสี สอดคล้องกับลำตัว  มีชื่อเรียกตามสีที่แตกต่างกันไป  คือ  Red-tailed Tuxedo (Golden Type),  Black-tailed Tuxedo,  Blue-tailed Tuxedo,  Red-tailed King Cobra,   Yellow-tailed King Cobra,   Lace King Cobra 

      
ภาพที่ 2  แสดงลักษณะของปลาปลาหางนกยูงสายพันธุ์คอบร้า
                                           ที่มา : http://www.thaiguppy.com/index.php
                                                                             http://www.fishlinkworldwide.com/fish/index.php

                 4.2 สายพันธุ์ทักซิโด้ (Tuxedo)  ลักษณะครึ่งตัวด้านท้ายมีสีดำ หรือ สีน้ำเงินเข้ม  ครีบหางมีหลากหลายแบบ  ครีบหลังและครีบหางหนาใหญ่ มีสีและลวดลายเหมือนกัน  มีชื่อเรียกตามสีที่แตกต่างกันไป คือ  German tuxedo (เยอรมัน)  Neon tuxedo (สันหลังสีขาว สะท้อนแสง)  Black tuxedo (ครีบหางสีดำ)  Golden tuxedo (ครีบหางสีส้ม)
      
ภาพที่ 3  แสดงลักษณะของปลาปลาหางนกยูงสายพันธุ์ทักซิโด้
                                          ที่มา : http://www.tropicalfishintl.com/guppy7.htm
                                                                            http://3.bp.blogspot.com/
                                                                            http://www.furfinsandrails.com/Guppy2.html
                                                                            http://aqualimul.blogspot.com/2009/05/guppy-fish

               4.3 สายพันธุ์โมเสค (Mosaic)  พื้นลำตัวสีเทาอ่อน บริเวณด้านบนสีฟ้า หรือ เขียว อาจแซมด้วยสีแดง ชมพู หรือ ขาว  ครีบหางมีหลากหลาย  ครีบหลังขาวเรียบ หรือ ชมพูอ่อน หรืออาจมีจุด หรือ แต้มขนาดเล็ก  มีชื่อเรียกตามสีที่แตกต่างกันไป  คือ  Red-tailed Mosaic  Santamaria Mosaic  Blue-tailed Mosaic Ribbon  Swallow-tailed Mosaic
      
ภาพที่ 4  แสดงลักษณะของปลาปลาหางนกยูงสายพันธุ์โมเสค
                                           ที่มา http://www.tropicalfishintl.com/images/enlarge/Guppy/
                                                                             http://fishkipedia.com/guppy/
                                                                             http://www.fishlinkworldwide.com/fish/index.php

                    4.4 สายพันธุ์กร๊าซ (Grass)  ลำตัวมีหลากสี  ครีบหางมีจุด หรือแต้มเล็ก ๆ กระจาย แผ่ไปทั่งตามรัศมีของหางคล้ายดอกหญ้า  มีชื่อเรียกตามสีที่แตกต่างกันไป  คือ  Red Grass,  Blue Grass,  Yellow Grass,  Golden Yellow Grass 
      
ภาพที่ 5  แสดงลักษณะของปลาปลาหางนกยูงสายพันธุ์กร๊าซ
                                           ที่มา : http://fishkipedia.com/guppy/
                                                                              http://3.bp.blogspot.com/
                                                                              http://generaleclectic123.blogspot.com/
                                                                              http://gup-py.blogspot.com/2011/03/naming-guppy-varieties.html

                4.5 สายพันธุ์นกยูงหางดาบ (Sword tail)  ลำตัวมีสีเทา ฟ้า เขียว แดง ชมพู เหลือง คล้ายหางนกยูง พันธุ์พื้นเมือง อาจมีจุด หรือ ลวดลายบนลำตัว  ครีบหางเป็นแฉกคล้ายปลาดาบ อาจมีทั้งด้านบน หรือ ด้านล่าง หรือ ด้านใดด้านหนึ่ง  มีชื่อเรียกตามสีที่แตกต่างกันไป  คือ  Double sword (หางกรรไกร)  Top sword (หางดาบบน)  bottom sword (หางดาบล่าง)
      
ภาพที่ 6  แสดงลักษณะของปลาปลาหางนกยูงสายพันธุ์หางดาบ
                                          ที่มา : http://www.guppywest.com/swordtail.htm
                                                       http://www.tropicalfishintl.com/guppy7.htm
                                                                             http://www.aquariumfish.net/images
                                                                             http://3.bp.blogspot.com/                                       
                                                                                                                    
5 การจำแนกเพศของปลาหางนกยูง             
                ความแตกต่างลักษณะเพศของปลาหางนกยูง   สามารถสังเกตได้จากลักษณะภายนอกได้หลายประการ  คือ
                5.1 ขนาดของลำตัว   ปลาหางนกยูงเพศเมียมีขนาดตัวค่อนข้างใหญ่และอ้วน   ส่วนปลาเพศผู้จะตัวเล็กเรียวยาว        
                5.2 ความยาวของครีบ   ปลาเพศผู้จะมีครีบหลังและครีบหางยาวกว่าปลาเพศเมียมาก  โดยเฉพาะครีบหางจะยาวเกือบเท่าความยาวลำตัว   ส่วนปลาเพศเมียครีบหางจะสั้น
                5.3 สีของลำตัวและครีบ   ปลาเพศผู้จะมีลำตัวและครีบที่มีสีสันเข้ม   สด   และมีหลายสีแล้วแต่สายพันธุ์   ส่วนปลาเพศเมียลำตัวมักจะไม่มีสีสัน   แต่อาจมีสีบ้างที่ครีบหาง
                5.4 อวัยวะสืบพันธุ์   ปลาเพศผู้จะมีอวัยวะสืบพันธุ์ลักษณะเป็นท่อยาวๆ   เรียกท่อส่งน้ำเชื้อ(Gonopodium)   ซึ่งเจริญมาจากครีบก้นและไปอยู่ใต้ครีบท้อง   ดังนั้นปลาเพศผู้จะไม่มีครีบก้น   แต่ปลาเพศเมียจะมีครีบก้นตามปกติ
                5.5 จุดดำท้ายส่วนท้อง   ปลาเพศเมียจะมีจุดหรือวงที่บริเวณท้ายของส่วนท้องซึ่งเป็นบริเวณที่มีผนังค่อนข้างบาง  ถ้าเป็นแม่ปลาที่มีไข่ค่อนข้างแก่จะสามารถสังเกตจุดสีดำซึ่งเป็นลูกตาของลูกปลาในไข่ปลาได้
       
ภาพที่ 7  แสดงความแตกต่างระหว่างปลาหางนกยูงเพศผู้ (ซ้าย กับ เพศเมีย (ขวา)
                       ที่มา : http://www.aqua-fish.net/show.php?h=guppy (ซ้าย)
                                      http://www.free-pet-wallpapers.com/Aquarium-fish-pet-wallpapers/(ขวา)
  
ภาพที่ 8  แสดงวงที่บริเวณท้ายของส่วนท้องของปลาหางนกยูงเพศเมีย
                                     ที่มา : http://www.efish2u.com/__FishInfo/Guppy002.htm

ภาพที่ 9  แสดงความแตกต่างทางด้านขนาดของลำตัว ความยาวของครีบ 
          สี และอวัยวะสืบพันธุ์ของปลาหางนกยูงเพศผู้ กับ เพศเมีย
                                     ที่มา : http://www.aqua-fish.net/show.php?h=guppy

                                                                                                                    
6 การแพร่พันธุ์ของปลาหางนกยูง                   
                ตามปกติปลาหางนกยูงจะสามารถแพร่พันธุ์เพิ่มจำนวนในบ่อเลี้ยงได้เป็นอย่างดี   โดยเฉพาะบ่อเลี้ยงที่มีพรรณไม้น้ำอยู่มาก   ทั้งนี้เนื่องจากปลาหางนกยูงเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว   และสามารถแพร่พันธุ์ได้ดีเกือบตลอดปี   เมื่อปลาเติบโตเจริญวัยถึงขั้นสมบูรณ์เพศ   ปลาเพศผู้ก็จะเข้าผสมพันธุ์กับปลาเพศเมีย   โดยยื่นท่อส่งน้ำเชื้อเข้าไปทางช่องสืบพันธุ์ของเพศเมีย   แล้วปล่อยน้ำเชื้อเข้าไปผสมกับไข่ในท้องของปลาเพศเมีย  ซึ่งเป็นการผสมพันธุ์ภายใน   จากนั้นไข่ก็จะมีการพัฒนาต่อไป   จนฟักออกเป็นตัวก็จะถูกปล่อยหรือคลอดออกจากแม่ปลา   ลูกปลาที่คลอดออกมาใหม่ๆจะมีขนาดตัวค่อนข้างใหญ่   เมื่อเทียบกับลูกปลาที่ฟักออกจากไข่ที่เกิดจากการผสมภายนอก   และยังค่อนข้างมีความแข็งแรง   คือสามารถว่ายน้ำอย่างรวดเร็วเพื่อหาที่หลบซ่อน  มิฉะนั้นจะถูกแม่ปลาหรือปลาตัวอื่นจับกินเป็นอาหาร   ผู้เลี้ยงปลาหางนกยูงทั่วไปจึงสามารถพบลูกปลาเกิดขึ้นในบ่อเลี้ยงได้  
   
ภาพที่ 10  แสดงการคลอดลูกของแม่ปลาหางนกยูง
                                                  ที่มา : Frank (1971)
                    การเจริญเติบโตของปลาหางนกยูงจากเล็กจนโตเต็มวัย จะใช้เวลาประมาณ  2 - 3  เดือน  ปลาเพศเมียจะให้ลูกได้ครอกละประมาณ  30 - 90  ตัว   ขึ้นกับขนาดของปลา   คือ  ในช่วงแรกๆแม่ปลายังโตไม่เต็มที่จะให้ลูกครอกละประมาณ  30 - 40  ตัว   เมื่ออายุมากขึ้นขนาดใหญ่ขึ้นจะให้ลูกครอกละประมาณ  40 - 60  ตัว   และเมื่ออายุมากกว่า  1  ปี  จะให้ลูกครอกละประมาณ      50 - 90  ตัว   และหลังจากที่คลอดลูกแล้ว   จะสามารถให้ลูกครอกต่อไปได้อีกในเวลาประมาณ    25 - 35  วัน   แล้วแต่ขนาดของปลา   การถ่ายน้ำ   และอาหารที่ได้รับ   คือแม่ปลาขนาดเล็กจะให้ลูกครอกต่อไปเร็ว   การเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยๆก็ช่วยให้มีการตั้งท้องและตกลูกเร็วขึ้น   นอกจากนั้นการเลือกใช้อาหารที่ดี   และให้อาหารสม่ำเสมอก็ช่วยให้ปลาตกลูกเร็วขึ้นเช่นกัน
                                                                                                                  
7 การเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง                   
                ถึงแม้ว่าปลาหางนกยูงจะแพร่พันธุ์ง่าย   และมีลูกปลาเกิดขึ้นได้ในบ่อเลี้ยงอยู่เสมอ   แต่ถ้าปล่อยให้แม่ปลาคลอดลูกเองภายในบ่อเลี้ยง   ในช่วงแรกลูกปลาอาจมีอัตรารอดสูง   แต่เมื่อมีจำนวนปลามากขึ้น  ลูกปลาในครอกต่อๆไปก็จะมีโอกาสรอดน้อยมาก   เพราะจะถูกปลาตัวอื่นๆไล่จับกิน   จากการทดลองพบว่าหากไม่มีการใส่พันธุ์ไม้น้ำ   หรือให้ที่หลบซ่อนสำหรับลูกปลาที่จะคลอดออกมา   ในบ่อเลี้ยงปลาหางนกยูงที่มีพ่อแม่ปลาอยู่หลายคู่   ลูกปลาจะมีโอกาสรอดน้อยมาก   ยิ่งถ้านำมาเลี้ยงในบ่อขนาดเล็กหรือภาชนะแคบๆ  ลูกปลาจะถูกไล่กินจนหมด   ถ้าเป็นบ่อขนาดใหญ่ลูกปลาจึงจะมีโอกาสรอดได้บ้าง   โดยจะเหลือรอดครอกละประมาณ  10 - 20  ตัว   ขึ้นกับจำนวนปลาที่มีอยู่ในบ่อ   ดังนั้นผู้ที่ต้องการดำเนินการเพาะปลาหางนกยูงเพื่อจำหน่ายอย่างจริงจัง   จำเป็นต้องมีการจัดการการเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูงที่ดี   ซึงดำเนินการได้หลายวิธีการ ดังนี้
                7.1 แยกเพาะในบ่อเพาะขนาดเล็ก   ใช้บ่อหรือภาชนะขนาดเล็กพื้นที่ประมาณ  1  ตารางฟุต  แยกเลี้ยงปลาบ่อละ  1  คู่   ไม่ควรเลี้ยงปลาเกิน  1  คู่  เพราะปลาเพศเมียจะค่อนข้างมีความดุร้าย   ในการไล่ล่าลูกปลาที่พึ่งคลอดจากแม่ปลาตัวอื่น   ใส่พันธุ์ไม้น้ำพวกสาหร่ายหรือจอกที่มีรากยาวๆลงในบ่อเพาะ   เพื่อเป็นที่หลบซ่อนของลูกปลา  เพราะเมื่อลูกปลาคลอดออกมาก็จะเข้าไปหลบซ่อนอยู่ตามสาหร่ายหรือรากของจอก   ช่วยให้รอดพ้นจากการถูกแม่ปลาจับกินได้   เป็นวิธีการเพาะที่ใช้ได้ผลดี   และจะสามารถคัดปลาหางนกยูงทั้งเพศผู้และเพศเมียที่มีลักษณะดีตามที่ต้องการมาผสมกันได้   จากนั้นคอยหมั่นแยกลูกปลาที่ได้ออกไปอนุบาล   ข้อเสียของวิธีนี้คือ  ต้องใช้พื้นที่มาก   และค่อนข้างใช้เวลาในการดูแล
                7.2 แยกเฉพาะแม่ปลาที่ท้องแก่ใกล้คลอดมาจากบ่อเลี้ยง   เป็นวิธีการที่เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาหางนกยูงจำนวนมากไว้ในบ่อเลี้ยง   แล้วหมั่นสังเกตหาปลาที่มีท้องแก่   จากนั้นจึงแยกเฉพาะแม่ปลาที่มีท้องแก่   คือมีท้องขยายใหญ่มากออกมาเพียงตัวเดียว   นำไปใส่ในภาชนะเล็กๆที่มีช่องตาให้ลูกปลาลอดออกไปได้   คล้ายกับเป็นห้องรอคลอดซึ่งมีผลิตออกมาจำหน่ายโดยเฉพาะ   แต่ค่อนข้างจะมีราคาแพง   ซึ่งอาจใช้ภาชนะอื่นทดแทนได้ เช่น ใช้ตะกร้าแขวนสำหรับใส่แปรงสีฟันในห้องน้ำ   โดยมักจะแขวนภาชนะนั้นจำนวนหลายอัน   ไว้ในตู้กระจกหรือในกะละมังใบเดียวกัน   แม่ปลาที่ถูกคัดออกมามักจะคลอดลูกภายใน 1 - 3  วัน  ยิ่งเมื่อดำเนินการไปนานๆ   แม่ปลาจะมีความเคยชิน   ก็มักจะคลอดลูกภายใน  1  วัน  หลังจากที่แยกมาปล่อยลงในที่สำหรับคลอด   ลูกปลาจะลอดช่องตาของภาชนะออกไปรวมกันในตู้หรือกะละมัง   แยกลูกปลาไปอนุบาลแล้วนำแม่ปลาไปเลี้ยงพักฟื้น  3  วันจึงปล่อยกลับลงบ่อเลี้ยง   จากการทดลองในห้องปฏิบัติการพบว่าวิธีนี้จะเป็นวิธีการที่ให้ผลดีที่สุด   เพราะลูกปลามีอัตราการรอดมากที่สุดและทำได้ค่อนข้างสะดวก   แต่อาจไม่เหมาะสมที่จะใช้กับฟาร์มผลิตขนาดใหญ่
        
   
ภาพที่ 11    ลักษณะของตะกร้าที่ใช้เป็นที่รอคลอด   และการวางตะกร้าในภาชนะขนาดเล็ก
                         ข  การแขวนตะกร้าหลายใบ     แม่ปลาก่อนคลอด     แม่ปลาหลังคลอด

  
ภาพที่ 12  แสดงลูกปลาที่ลอดช่องตาของตะกร้าออกไปอยู่ภายนอก
                7.3 แยกเลี้ยงในภาชนะที่มีช่องตาขนาดที่ลูกปลาจะรอดออกไปได้   เป็นวิธีการที่คัดแยกพ่อแม่พันธุ์ปลาหางนกยูงจำนวนมากมาเลี้ยงในภาชนะที่มีช่องตาขนาดที่ลูกปลาจะรอดออกไปได้  แต่พ่อแม่ปลาจะไม่สามารถรอดออกไปได้   เป็นภาชนะขนาดปานกลาง   เช่น  กระชัง  ตะกร้า   หรือกระจาด   ซึ่งจะนำไปกางหรือวางในภาชนะหรือบ่ออีกทีหนึ่ง   กระชัง ตะกร้า หรือกระจาดนี้จะใช้เลี้ยงปลาได้ใบละ  5 - 7  คู่   ไปจนถึง 50 คู่ เมื่อแม่ปลาคลอด   ลูกปลาจะสามารถว่ายหนีผ่านช่องตะกร้าออกไปสู่ภายนอก   เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดีเช่นกัน   ปลาที่เลี้ยงอยู่ในตะกร้าแต่ละใบจะให้ลูกสัปดาห์ละ  1  ครอกเป็นอย่างน้อย   ก็แยกลูกปลาออกไปอนุบาลได้   เป็นวิธีที่นิยมกระทำกันมากในฟาร์มที่ผลิตลูกปลาหางนกยูงเพื่อจำหน่าย  โดยใช้ตะแกรงพลาสติกทำเป็นกระชังขนาดประมาณ 0.5 - 1 ตารางเมตรวางในบ่อซิเมนต์  ปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาหางนกยูงลงในกระชัง 20 - 30 คู่  ลูกปลาที่คลอดออกมาจะว่ายหนีออกจากกระชังได้ดี  ทำให้สามารถผลิลูกปลาได้ค่อนข้างมาก  ข้อเสียของวิธีนี้  คือ เศษอาหารมักจะลงไปตกค้างอยู่ก้นภาชนะมาก   ทำให้ปลาติดเชื้อได้ง่าย   ต้องหมั่นทำความสะอาด
   
 ภาพที่ 13  ลักษณะการเพาะปลาหางนกยูงในฟาร์มขนาดใหญ่์ 
                                             โดยเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ในกระชังที่กางในบ่อซิเมนต
8 การอนุบาลลูกปลาหางนกยูง                   
                ลูกปลาที่แยกออกมาจากบ่อเพาะหรือแม่ปลาที่คลอดแล้ว   นำมาเลี้ยงในภาชนะหรือบ่อขนาดปานกลาง   มีความจุประมาณ  30 - 100  ลิตร   ขึ้นกับจำนวนลูกปลา   แล้วเลี้ยงด้วยอาหารผง (อาหารอนุบาลลูกปลาดุก)โดยให้บริเวณผิวน้ำ   ลูกปลาจะสามารถกินอาหารผงได้เป็นอย่างดี   เพราะปลาหางนกยูงเป็นปลาที่กินอาหารได้ง่าย   หมั่นทำความสะอาดก้นบ่อและถ่ายน้ำเสมอๆเช่นเดียวกับบ่ออนุบาลลูกปลาทอง   เพื่อเร่งให้ลูกปลาเจริญเติบโตเร็ว   จะเลี้ยงด้วยอาหารผงประมาณ  15  วัน   ลูกปลาจะมีขนาดโตขึ้นจนสามารถนำไปปล่อยเลี้ยงรวมกับปลาขนาดใหญ่ในบ่อเลี้ยงได้อย่างปลอดภัย
                                                                                                                    
9 การเลี้ยงปลาหางนกยูง                  
                การเลี้ยงปลาหางนกยูงนับเป็นเรื่องง่ายมาก   ปลาหางนกยูงจะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการติดเชื้อ  หากผู้เลี้ยงหมั่นทำความสะอาดบ่อเลี้ยง   ไล่เศษอาหารที่ตกค้างออกจากบ่ออย่างสม่ำเสมอ   ซึ่งอาจกระทำทุก  2 - 3  วัน ต่อครั้งก็เป็นการเพียงพอ   สำหรับผู้เลี้ยงทั่วไปที่เลี้ยงปลาสวยงามเป็นงานอดิเรก   ควรใช้อาหารปลาสวยงามที่จำหน่ายตามร้านขายปลาสวยงาม   โดยไม่จำเป็นต้องเลือกอาหารเฉพาะเจาะจง   ซึ่งจะมีราคาไม่แพงมากนักก็จะใช้เลี้ยงปลาได้ดี   เพราะปลาหางนกยูงกินอาหารได้ง่ายและเจริญเติบโตได้ดี   โดยควรให้อาหารวันละ  2  ครั้ง  ในตอนเช้าและเย็น   ส่วนผู้ที่เลี้ยงปลาหางนกยูงเพื่อเพาะพันธุ์ปลาออกจำหน่าย  จำเป็นต้องเลี้ยงปลาเป็นจำนวนมาก   จะต้องพยายามลดต้นทุนการผลิต   อาจเลือกใช้อาหารเม็ดที่ใช้เลี้ยงปลาดุกเล็ก   ซึ่งมีราคาถูกและมีธาตุอาหารครบถ้วน   นำมาใช้สำหรับเลี้ยงปลาก็จะทำให้ปลาเจริญเติบโตได้อย่างดี   จะใช้เวลาเลี้ยงปลาประมาณ  45 - 60  วันก็สามารถส่งจำหน่ายได้
   
ภาพที่ 14  ลักษณะการเลี้ยงปลาหางนกยูงในกระชังเป็นฟาร์มขนาดใหญ่ในต่างประเทศ
    
ภาพที่ 15  ลักษณะฟาร์มเลี้ยงปลาหางนกยูง่ในต่างประเทศ
                                              ที่มา http://gwaquarium.com/Farm2.jpg  
                                                                                                                  
10 ปัญหาการเพาะเลี้ยงปลาหางนกยูง                    
                ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเพาะเลี้ยงปลาหางนกยูง  คือ  ลูกปลาที่ได้มามีลักษณะไม่ตรงตามต้องการ  หรือมีลักษณะไม่เหมือนกับพ่อแม่พันธุ์ที่ใช้เพาะ   แต่มักจะมีลักษณะด้อยกว่าพ่อแม่ปลา   คือมีความสวยงามไม่เท่าพ่อแม่พันธุ์   ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ  คือ
                10.1 พ่อแม่พันธุ์ที่นำมาใช้เพาะอาจเป็นปลาครอกเดียวกัน   การนำปลาเลือดชิดมาผสมกัน   ลูกปลาที่ได้จะแสดงลักษณะด้อยออกมามากขึ้น   จึงทำให้ลูกปลามีลักษณะไม่สวยงามเท่าพ่อแม่พันธุ์
                10.2 ปลาเพศเมียที่คัดแยกมาเพาะอาจได้รับน้ำเชื้อจากปลาเพศผู้ตัวอื่นมาแล้ว   เพราะในขณะที่ปลาตั้งท้อง   ถึงแม้ว่าปลาจะได้รับการผสมพันธุ์จากเพศผู้แล้ว   แต่ปลาเพศผู้ตัวอื่นๆก็จะมาผสมกับแม่ปลาไปเรื่อยๆ   น้ำเชื้อที่ถูกส่งเข้ามาในรังไข่ใหม่นี้จะตกค้างและมีชีวิตอยู่ได้นาน   เมื่อปลาคลอดลูกออกไปแล้ว   ไข่ที่เจริญมาใหม่ก็จะถูกผสมโดยน้ำเชื้อที่ตกค้างอยู่เหล่านี้   ทำให้แม่ปลาดังกล่าวไม่ได้รับการผสมกับปลาเพศผู้ที่คัดมา   ดังนั้นเมื่อแม่ปลาคลอดลูกแล้วอาจต้องเลี้ยงแยกไว้   ปล่อยให้คลอดลูกอีกครอกซะก่อน  จึงค่อยนำไปผสมกับปลาเพศผู้ที่คัดไว้
                   10.3 ขาดการดูแล   ลูกปลาที่เกิดขึ้นได้รับการดูแลเอาใจใส่ไม่ดีพอ   อาจได้รับอาหารไม่สมบูรณ์หรือไม่เพียงพอ   ก็จะทำให้ปลามีความแคระแกรนรูปทรงไม่สวยงามได้
                                                                                                                  
11 ชนิดปลาที่ดำเนินการเพาะพันธุ์เช่นเดียวกับปลาหางนกยูง             
                มีปลาสวยงามอีกหลายชนิด   ที่สามารถดำเนินการเพาะพันธุ์เช่นเดียวกับการเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูงทุกประการ   เนื่องจากเป็นกลุ่มปลาขนาดเล็กและเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัวเช่นกัน   ได้แก่  ปลาสอด   ปลาหางดาบ   ปลาเซลฟิน   ปลาบอลลูน  และปลาเข็ม   โดยอาจเพิ่มความระมัดระวังเรื่องการกระโดดของปลาออกจากภาชนะ   เนื่องจากปลาเหล่านี้จะมีขนาดใหญ่กว่าปลาหางนกยูงเล็กน้อย   และชอบกระโดดมากกว่าปลาหางนกยูง   ดังนั้นภาชนะที่ใช้คัดแยกพ่อแม่ปลาออกมาเลี้ยง   หรือคัดแม่ปลาออกมารอคลอด   ควรมีขนาดใหญ่และสูงกว่าที่ใช้กับปลาหางนกยูง   หรืออาจทำฝาปิดก็ได้
          
ภาพที่ 16  ปลาสอดชนิดต่างๆ
                                                                 ที่มา : http://www.tropicalfishintl.com/platy1.htm
                                                                          http://3.bp.blogspot.com/

       
ภาพที่ 17  ปลาเซลฟินชนิดต่างๆ
                                                               ที่มา : http://completeaquarium.blogspot.com/
                                                                                                           http://www.tofa.org.tw/
                                                                                                           http://teowayyong.net/Catalog/molly.htm
                                                                                                           http://4.bp.blogspot.com/

    
ภาพที่ 18  ปลาหางดาบชนิดต่างๆ
                                                              ที่มา http://tropical-fish-pictures.blogspot.com/
                                                                                                          http://liquidaquarium.webs.com/
                                                                                                          http://fishyaquaria.wordpress.com/

    
ภาพที่ 19  ปลาบอลลูนชนิดต่างๆ
                                                              ที่มา http://fotometry.com/stock-photos-animals
                                                                                                          http://www.alibaba.com/
                                                                                                          http://www.garfishindo.com/livebearers.html

ภาพที่ 20  แสดงความแตกต่างระหว่างปลาสอดเพศผู้ (ตัวบน)  กับ เพศเมีย (ตัวล่าง)
                               ที่ม : http://cerrillos.olx.cl/peces-platty-iid

ภาพที่ 21  แสดงความแตกต่างระหว่างปลาหางดาบเพศผู้ (ด้านขวา)  กับ เพศเมีย (ด้านซ้่ย)
                          ที่มา : http://fishyaquaria.wordpress.com/