นาฬิกาหรอก
วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555
6 สายพันธุ์ปลาทองยอดฮิต
6 สายพันธุ์ปลาทองยอดฮิต (โลกสัตว์เลี้ยง)
ทราบไหมว่าปัจจุบันสายพันธุ์ปลาทองที่นิยมเลี้ยงมีด้วยกันกี่สายพันธุ์ และแต่ละลายพันธุ์มีเอกลักษณ์จุดเด่นเฉพาะตัวอย่างไรบ้าง ขอเฉลยเลยละกัน สายพันธุ์ปลาทองที่มีความนิยมเลี้ยงกันในปัจจุบันมีด้วยกันทั้งหมด 6 สายพันธุ์ แต่โปรดเข้าใจความหมายของคำว่ายอดนิยมกันก่อนนะว่าผู้เขียนหมายถึง ปลาทองที่คนทั่ว ๆ ไปนิยมซื้อไปเลี้ยง ไม่ใช่สายพันธุ์ที่บรรดานักนิยมปลาทองมืออาชีพนิยมเลี้ยงเพื่อการประกวดประชันขันแข่งกันเป็นสายพันธุ์ปลาทองที่หากเราไปเดินตามตลาดปลาสวยงาม หรือ ร้านขายปลาสวยงาม ก็มักจะพบเห็นกันเป็นประจำ ซึ่ง 6 สายพันธุ์ที่ว่า ได้แก่...
ปลาทองฮอลันดา
ปลาทองฮอลันดา
1. ฮอลันดาปักกิ่ง
เป็นปลาทองที่มีขนาดลำตัวเล็ก ตัวกลมสั้นป้อม หลังยกสูงเหมือนหลังอูฐ หัววุ้นที่ขึ้นจะเป็นวุ้นที่ละเอียดเม็ดเล็กๆ มีสัดส่วนวุ้นแบ่งเป็นวุ้นเคี้ยว ซึ่งจะอยู่บริเวณมุมปากของปลา ซึ่งจะมองแล้วคล้ายวงช้าง ทำให้มองดูปลาแล้ว เหมือนแก้มยุ้ย ช่วงลำตัวจะกลมเหมือนลูกกอล์ฟ ช่วงท้องจะใหญ่กลมมาก ใบหางของเจ้าปักกิ่งนั้น ใบหางบนยกสูง 40-60 องศา และใบหางล่างกดลง 50-70 องศา เนื่องจากปักกิ่ง มีสัดส่วนที่กลมเพราะฉะนั้นใบหางปลาจะมีการสมดุล กับ body สันหลังที่อยู่ส่วนบนของลำตัวจะยกสูงโค้งจรดโคนหางกระโดงหลังจะตั้งตรงเหมือนกระโดงเรือ ส่วนเกล็ดจะเป็นเกล็ดที่มีขนาดเล็กละเอียดแน่น และที่สำคัญจะต้องยืนน้ำตัวตั้งตรงกับพื้นน้ำ ครีบทวารเหยียดตรง
2. ฮอลันดายักษ์
ลักษณะลำตัวใหญ่ ช่วงตัวยาวหนาใหญ่ ลักษณะวุ้นที่ขึ้นค่อนข้างเป็นลักษณะเรียบไม่ฟูมาก จะเป็นลักษณะกระชับ วุ้นจะขึ้นไม่มากจนขนาดปิดตา แต่จุดสำคัญวุ้นด้านแก้มปลาฮอลันดายักษ์นั้นจะเรียบ โครงสร้างของครีบจะมีแก่นกระดูก เช่น กระโดง ครีบหาง เป็นลักษณะแก่นแข็งเส้นใหญ่ บริเวณใบหางจะมีความหนาดูแล้วมีพลังเมื่อมีการว่ายน้ำ ลักษณะที่ดีของฮอลันดายักษ์จะต้องมีขนาดใหญ่ ลำตัวใหญ่ ปากกว้างวุ้นขึ้นเหมือนมงกุฎสวยใส่ที่หัว เกล็ดจะมีขนาดใหญ่ ช่วงระย่ะหางของเกล็ดจะไม่ถี่มากจะมีช่วงกว้างพอสมควร ซึ่งเมื่อใช้มือสัมผัสก็จะรู้สึกของความนูนของเกล็ด
3. สิงห์ญี่ปุ่น
ก่อนอื่นเรามาพูดถึงเรื่องของเกล็ดปลากันก่อน เนื่องจากปลาสิงห์ญี่ปุ่นจะมีลักษณะของเกล็ดที่แตกต่างมาก จะมีผิวที่เรียบเนียนเงาเหมือนกระจกเงาและเรียบมาก เมื่อสัมผัสกับแสงแดดจะเป็นเงาสะท้อนออกมา หัวปลามีขนาดเล็กมีวุ้นที่เป็นลักษณะเด่นคือ มีวุ้นยื่นออกมาบริเวณปากมองแล้วคล้ายงวงช้าง วุ้นส่วนกระหม่อมปลาจะแบ่งเป็นสัดส่วนเหมือนกล้ามหน้าท้องของคน ซึ่งจะแบ่งได้เป็น 6 ก้อน หรือ 8 ก้อน เป็นลูกๆ หลังโค้งสูงเป็นครึ่งวงกลม ความหนาช่วงหัวกับลำตัวจะมีขนาดเท่ากัน สันหลังโค้งจรดใบทางชิดกันพอดี ทำมุม 60-80 องศา ช่วงข้อหางจะคลุมครีบทวารพอดี
4. สิงห์ลูกผสม (สิงห์จีน)
เป็นปลาที่มีความนิยมมากในหมู่เด็กๆ เนื่องจากมีวุ้นที่ฟูฟ่องออกมาจำนวนมากขนาดปิดตา เป็นวุ้นก้อนใหญ่แบบหยาบไม่ละเอียดมากนัก ความน่ารักจะอยู่ที่หน้าตากลมวุ้นเยอะมาก ลำตัวจะอ้วนมากสันหลังจะไม่โค้งเหมือนครึ่งวงกลม แต่มีช่วงตัวที่ยาวกว่าสิงห์ญี่ปุ่น เกล็ดจะเป็นลักษณะหยาบไม่แววใสมีเยื่อหุ้มเกล็ดบางๆ ปลาบางตัวจะมีหลังยาวเหมือนกระดานด้วยซ้ำ
5. สิงห์ดำ (สิงห์สยาม)
จะมีลักษณะคล้ายสิงห์วุ้นลูกผสม แต่ลำตัวจะมีสีดำวุ้นก็จะดำด้วย ส่วนช่วงท้องของปลาสิงห์ดำจะมีสีทองออกเทาหรือดำสนิทก็ได้ ซึ่งปลาชนิดนี้จะต้องมีวุ้นขึ้นตกจนขนาดมิดตา ผิวหนังของสิงห์ดำจะมีเยื่อบางๆ ปกคลุมมีสีดำ เมื่อเกิดรอยแผลสักเล็กน้อยก็จะเห็นได้เด่นชัดขึ้นหลังมีความโค้งสวย ซึ่งมีความโค้งเทียบเท่ากับสิงห์ญี่ปุ่น แต่ความหนาลำตัวจะไม่ค่อยหนามากนักในตอนเล็ก แต่เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่ตามลำดับ ซึ่งสิงห์ดำนั้นจะมีส่วนที่ดำทั้งตัวตั้งแต่ครีบว่าย, ครีบอก, ครีบหาง, เหงือกปลา, วุ้นและผิวเมือกปลาจะมีสีดำทั้งหมด
6. ริวกิ้น
มีตัวที่กลมเหมือนลูกบอลและมีกระโดงที่สูงเหมือนเสากระโดงเรือแก่นกระดูก ครีบกระโด่งจะใหญ่และแข็งมาก ช่วงหัวปลาริวกิ้นจะมีขนาดเล็กเหมือนหน้าหนูเป็นแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว จะมีหลังที่เหมือนอูฐ (โหนกสูง) จะหักรับกับช่วงหัวพอดีซึ่งส่วนต่างๆ ของปลาริวกิ้นนี้จะคล้ายกับฮอลันดาปักกิ่งแทบทุกอย่าง ยกเว้นอย่างเดียวคือ ปลาประเภทนี้จะไม่มีหัววุ้น ลักษณะที่สวยก็คือตัวจะต้องกลมยืนน้ำต้องตั้งตรงอยู่แนวขนานกับระดับน้ำ และโหนกจะต้องสูงหักงุ้มและสันโหนกจะต้องโค้งได้รูปเป็นครึ่งวงกลมจรดปลายหางปลาพอดี ใบหางล่างจะต้องคลุมครีบทวารพอดี
นี่แหละคือ 6 สายพันธุ์ปลาทองยอดนิยมในยุคนี้ คงพอจะทำให้ผู้อ่านรู้จักลักษณะสายพันธุ์ของปลาทองมากขึ้น และหวังว่าจะเป็นข้อมูลในการช่วยให้ท่านผู้อ่านนักรักปลาทองตัดสินใจเลือกสายพันธุ์ปลาทองที่ถูกใจมาเลี้ยงได้อย่างมีความสุข
ปร ะ ศาสตร์ ปลากัดไทย
ปลากัด เป็นปลาสวยงามขนาดเล็ก ที่คนไทยนิยมเลี้ยงกันมาตั้งแต่ยุคสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน เป็นปลาที่พบได้ในธรรมชาติทุกภาค อาศัยอยู่ตามห้วย หนอง คลอง บึง และในท้องนาทั่วไป
ปลากัด มีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่ง คือ มีอวัยวะช่วยหายใจพิเศษอยู่ที่บริเวณเหงือก ทำให้สามารถใช้ออกซิเจน จากการฮุบอากาศที่ผิวน้ำได้โดยตรง ปลากัดจึงสามารถทนทานต่อการดำรงชีวิตในน้ำที่มีออกซิเจนต่ำ เพราะสามารถขึ้นรับออกซิเจนที่อยู่บนผิวน้ำได้
ตำนานเล่าขานของปลากัด มีค่อนข้างแปลก ...จากบทความ "ธรรมชาติของปลากัดไทย" โดย ม.ล. ยิ่งศักดิ์ อิศรเสนา ซึ่งเขียนไว้นานแล้ว ได้พูดถึงการขุดหาปลากัด ในรูปูนา ตามขอบหนอง ชายบึง และริมคู ซึ่งไม่น่าเชื่อว่า ปลากัดสามารถเข้าไปอาศัยอยู่ในรูปู เพราะเมื่อถึงหน้าแล้ง น้ำเริ่มลดลงไปเรื่อยๆ ปูก็จะขุดรูลึกลงไปตามระดับน้ำที่ลดลงไป ปลากัดก็จะพลอยอาศัยน้ำในรูปูซึ่งมีอยู่นิดหน่อย โดยการหายใจรับอ๊อกซิเจนในอากาศ แล้วปลากัดจะออกมาใหม่ในต้นฤดูฝน
ปลากัด ที่ได้มาจากการขุดหาในรูปู แล้วนำมาเลี้ยงนี้ จะเรียกกันว่า “ปลาขุด” เป็นปลากัดในยุคแรกๆ ที่ว่ากันว่ามีน้ำอดน้ำทนในการกัดปลายิ่งกว่า ปลากัดตามธรรมชาติทั่วไป
ปลากัด โดยปกติจะชอบอาศัยอยู่บริเวณหญ้ารกๆ ในเขตน้ำตื้น ท่านใดจะช้อนตักปลากัดตามธรรมชาติ จะต้องไปบริเวณหญ้ารกๆ เพราะปลากัดเป็นปลาที่รับออกซิเจนที่ผิวน้ำ เราจึงไม่พบปลากัดตามแม่น้ำ ลำคลอง และหนองบึงที่มีน้ำลึกๆ รวมทั้งบริเวณน้ำตก ที่ซึ่งมีน้ำไหลเชี่ยว และไม่มีหญ้าขึ้นรก
ปลากัด เป็นปลาที่หวงถิ่นอาศัย ชอบอยู่ตัวเดียว และจับคู่ในฤดูผสมพันธุ์ จะต่อสู้ทันทีเมื่อมีตัวอื่นเข้าใกล้ ปลาตัวผู้สามารถเปลี่ยนสีได้งดงามเมื่อถูกกระตุ้นในสภาวะตื่นตัว ครีบทุกครีบจะแผ่กางออก แผ่นเยื่อหุ้มเหงือกจะขยายพองออก พร้อมกับสีน้ำเงินเหลือบ หรือสีแดงเหลือบ จะปรากฏออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจน ทำให้ดูมีสง่าสวยงาม และดูอาจหาญ
ด้วยลักษณะพิเศษนี้ คนไทยแต่โบราณจึงได้นำปลากัดมาต่อสู้กันเป็นกีฬาพื้นบ้าน และเลี้ยงไว้ดูเล่นเพื่อความสวยงาม
แต่ เดิม ปลากัดที่จับได้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ลำตัวจะแบน เล็ก มีสีน้ำตาลขุ่นๆ หรือสีเทาแกมเขียว และอาจจะมีแถบสีดำจาง ๆ พาดตามความยาวของลำตัว มีลักษณะว่องไว แต่กัดไม่ทน เรียกกันว่า “ปลากัดป่า” หรือ “ปลา กัดทุ่ง”
คนไทยได้นำปลากัดป่า มาเพาะเลี้ยงและคัดพันธุ์หลายชั้น หลายชั่วอายุ จนปัจจุบันได้ปลากัดรูปทรงดี แข็งแรง ลำตัวหนา ตัวใหญ่ สีสันสวยงามกว่าเดิม มีทั้งสีแดงเข้ม สีน้ำเงินเข้ม สีเขียวเข้ม สีเงิน และสีผสมมากกว่าหนึ่งสี ในตัวเดียวกัน รวมทั้งปราดเปรียว อดทนกว่าเดิม เรียกกันว่า “ปลากัดหม้อ หรือลูกหม้อ”
สันนิษฐานว่าคำนี้ ได้จากปลากัดถูกเพาะพันธุ์และเลี้ยงขึ้นมา ภายในหม้อดินเผา ไม่ใช่พันธุ์ที่มาจากท้องนา
จาก บันทึกคำบอกเล่า ของนักเลงปลารุ่นเก่าอย่าง หลวงอัมรินทร์สมบัติ (ครอบ สุวรรณนคร) เล่าว่า “ปลาลูกหม้อ น่าจะถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงประมาณปี 2430 ซึ่งท่านจำได้ว่า ก่อนหน้านั้น ยังต้องจับปลากัดป่ามากัดพนันกันอยู่ ต่อมานักเลงปลากัดบางคน ก็เริ่มใช้วิธีไปขุดล้วงเอาปลากัดป่า ที่อาศัยอยู่ตามรูปูในหน้าแล้ง มาขังไว้ในโอ่ง มาเลี้ยงดูให้อาหาร พอถึงฤดูฝนก็นำมากัดพนันกับปลากัดป่า ซึ่งส่วนใหญ่ปลาขุดจะสู้ชนะทุกครั้ง”
“หลัง จากนั้นก็มีการเก็บปลาที่กัดเก่ง เลี้ยงไว้ข้ามปี และหาปลากัดป่าตัวเมียมาผสม ลูกปลาที่ได้จากการผสมในชุดแรกจะเรียกว่า "ปลา สังกะสี" ซึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะได้ชื่อมาจากผิวหนังที่หนาแกร่ง ไม่ถูกกัดขาดง่ายเหมือนปลากัดป่าและปลาขุด ..ปลาสังกะสีมักจะมีตัวใหญ่ สีสันลักษณะต่างจากปลากัดป่าและปลาขุด นักเลงปลากัดป่ามักจะไม่ยอมกัดพนันด้วย จึงต้องกัดแข่งขันกันระหว่างปลาสังกะสีด้วยกันเอง”
“ปลา สังกะสี ที่กัดเก่ง อดทน สวยงาม ก็จะถูกคัดเอาไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ เมื่อผสมออกมา ก็จะได้ปลาที่มีลักษณะรูปพรรณ สีสันที่สวยงาม แปลกออกไปตามอัธยาศัยของผู้ผสมพันธุ์ พร้อมกับได้ ความเก่ง และความอดทนด้วย จะว่าไปแล้วพันธุศาสตร์สัตว์น้ำของเมืองไทย นับได้ว่าน่าจะเริ่มมาตั้งแต่ยุคนั้น(ประมาณปี 2430)”
จาก ปลาสังกะสี ได้มีการพัฒนาพันธุ์ต่อมา จนได้ปลากัดที่มีครีบและหางยาวพลิ้ว ปลายแหลม มีสีสันสวยงามหลายสี สำหรับเลี้ยงไว้เพื่อดูเล่น คล้ายๆปลาทอง เรียกกันว่า “ปลากัดจีน” เหตุที่เรียกเช่นนี้ ไม่ใช่เพราะนำมาจากประเทศจีน แต่เป็นเพราะครีบและหางที่ยาวออกมามากและแผ่กว้างขึ้น มีสีสันใหม่ ๆสวยงาม เหมือนตัวงิ้ว จึงเรียกกันว่า "ปลากัดจีน"
และ ยังมีผู้เพาะเลี้ยงและพัฒนาพันธุ์ จนได้ปลากัดที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิมอีกเท่าตัว เรียกกันว่า “ปลากัดยักษ์” สำหรับ “ปลากัดเขมร” นั้น เพราะเกิดจากการผสมพันธุ์ไปมา จนได้ปลาที่มีสีผิว แบบปลากัดเผือก หรือสีอ่อน คล้ายๆกับปลากัดทางเขมร จึงเรียกกันว่า "ปลากัดเขมร"
จากความแตกต่างของปลา กัดที่พัฒนาพันธุ์ขึ้น จึงได้แบ่งประเภทของปลากัดเป็นสองประเภท คือ ประเภทครีบสั้น กับประเภทครีบยาว
และยังแบ่งออกได้เป็น ชนิดหางเดี่ยว ชนิดหางคู่ ชนิดก้านครีบ ชนิดหางยาวแหลม ชนิดครีบเว้าลึกคล้ายมงกุฎ(หางมงกุฎ) และชนิดหางแผ่ได้ครึ่งวงกลม(พระจันทร์ครึ่งดวง) รวมทั้งสี ก็ยังแบ่งออกได้เป็น ปลากัดชนิดสีเดี่ยว ชนิดสองสี และชนิดหลากสี
การ ต่อสู้ของปลากัด …ปลากัดป่านั้นเมื่อนำมากัดกัน จะมีน้ำอดน้ำทนไม่มากนัก ระยะเวลาของการต่อสู้ จะไม่เกิน 15-20 นาที แต่ปลาลูกหม้อที่มีการคัดสายพันธุ์มาอย่างต่อเนื่อง จะสามารถต่อสู้กันได้ประมาณ 3 ชั่วโมง บางคู่อาจกัดกันข้ามวันข้ามคืนก็มี
ปลา กัด สามารถต่อสู้กันอย่างต่อเนื่องได้นาน ๆ โดยไม่ต้องพักยก มีคั่นเพียงการโผล่ขึ้นมาฮุบอากาศที่ผิวน้ำในระยะเวลาสั้น ๆ
เมื่อ ปลากัด อยู่ในสภาพเตรียมพร้อมต่อสู้ ปลากัดจะแผ่ครีบของเหงือก และเปล่งสีออกมาอย่างเต็มที่ ปลาทั้งสองอาจจะหันหัวไปในทิศทางเดียวกัน โดยตัวใดตัวหนึ่งจะอยู่เยื้องไปทางด้านหลังเล็กน้อย ปลากัดทั้งสองจะอยู่ในท่านี้ นิ่ง เป็นวินาทีหรืออาจจะหลายนาที แล้วจะเข้าโจมตีกัดกันอย่างรวดเร็ว อาวุธหลักที่ใช้ทำร้ายศัตรู คือฟัน การโจมตีจะต่อเนื่องรุนแรง โดยมีระยะพักขณะที่ปลาแยกตัวออกมาอยู่ในท่าเตรียมพร้อม ในระยะเวลาสั้นๆ แล้วจะเข้าต่อสู้กันอีก
จุดหลักสำหรับการโจมตี คือครีบก้น ครีบหาง และครีบหลัง ส่วนครีบอก และตะเกียบนั้น มักจะไม่ได้รับความสนใจมาก
เมื่อ การต่อสู้ผ่านไปเรื่อยๆ ครีบเดี่ยวเหล่านี้จะถูกกัดขาดวิ่นไปเรื่อยๆ จนบางครั้งอาจจะเหลือเพียงโคนของก้านครีบ ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของการว่ายน้ำและการควบคุมทิศทางลดลง รวมทั้งเหนื่อยด้วย
จุดอื่นที่เป็นเป้าโจมตีของปลากัด ก็คือ ด้านข้างลำตัว การกัดบริเวณนี้อย่างรุนแรงรวดเร็ว อาจจะทำให้เกล็ดร่วงหลุด แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยมีแผลบาดเจ็บมากนัก ยกเว้นบริเวณเหงือก ที่บางครั้งอาจถูกกัดจนเป็นแผล
หากปลาถูกโจมตีซึ่งๆหน้า ไม่สามารถหลบหลีกได้ ปลากัดจะประสานปากเข้ากัดกัน ล็อคขากรรไกรแน่น ท่านี้นักเลงปลา เรียกว่า "ติดบิด" ปลาจะปล่อยตัวตามยาวทำให้ส่วนที่เหลือของลำตัวหมุนบิดเป็นเกลียว จนจมลงสู่พื้นอ่าง และจะคงอยู่ในท่านี้ ประมาณ 10-20 วินาที จึงจะแยกจากกัน เพื่อขึ้นสู่ผิวน้ำเพื่อฮุบอากาศ แล้วจะกลับมาต่อสู้กันใหม่ในท่าเดิมอีก
จริยธรรม ของปลากัดในช่วงนี้ จะไม่เคยมีปลากัดตัวไหนถูกลอบกัดขณะขึ้นฮุบอากาศ และในการต่อสู้บางครั้ง อาจจะติดบิดกันถึง 20 ครั้ง จึงจะมีการแพ้การชนะ
การแพ้ชนะของปลากัด ส่วนใหญ่จะเกิดจากการยอมแพ้เพราะเหนื่อยและสูญเสียความอดทน มากกว่าจากการบาดเจ็บ ....เมื่อปลากัดยอมแพ้ ก็จะว่ายน้ำหนี หรือจะหันด้านหางเข้าหาเมื่อคู่ต่อสู้เข้าโจมตี ก็เป็นอันจบเกมการแข่งขัน
ปลา กัด เป็นปลาที่มีสัญชาติญาณของการต่อสู้ รักถิ่นอาศัยของตนเอง แม้จะไม่จับมาแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน มันก็จะกัดกันเองตามธรรมชาติอยู่แล้ว ...และหากปลากัดเหนื่อยล้าหมดแรง มันก็จะหนี จะไม่กัดกันจนถึงขั้นบาดเจ็บถึงตาย
จากบันทึกของ "เอช เอ็ม สมิต" ที่ปรึกษาทางด้านสัตว์น้ำของประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่ได้ชมการกัดปลามากกว่า 100 ครั้ง เล่ายืนยันว่า การกัดปลาไม่โหดร้ายป่าเถื่อนสยดสยองเหมือนที่เข้าใจกัน แต่เป็นการต่อสู้ที่เร้าใจ เต็มไปด้วยศิลปะและความงามในลีลาการเคลื่อนไหว ความสง่า ความคล่องแคล่ว เฉียบแหลม และความอดทน
เมื่อสิ้น สุดการต่อสู้อันยืดเยื้อ ปลาทั้งคู่อาจจะอยู่ในสภาพที่ไม่น่ามอง เนื่องจากครีบอาจจะถูกกัดขาดวิ่น หรือเกล็ดหลุดร่วง แต่ในระยะเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ก็จะสามารถงอกกลับมาใหม่เป็นดังปกติ แทบจะไม่พบร่องรอยของการบาดเจ็บในอดีต
หมายเหตุจขบ. : ผมไม่เคยกัดปลากัด ข้อมูลเรื่องครีบ และเกล็ด งอกออกมาใหม่นั้น ผมไม่แน่ใจว่าจริงหรือไม่? นะครับ
นักเลงปลากัด จะมีวิธีการซ้อมปลากัดของตน เพื่อให้มีความพร้อมก่อนการต่อสู้ โดยอาจใช้วิธีไล่น้ำ โดยการใช้มือ กวนน้ำในอ่าง ให้น้ำวนอย่างแรง แล้วปล่อยปลาลงไปว่ายทวนน้ำ หรือฝึกออกกำลังปลาโดยปล่อยปลากัด "ลูกไล่" ที่เป็นปลาไม่สู้ ลงไปอยู่ในโหลเดียวกัน แล้วให้ปลานักสู้ของตนซ้อมไล่ เพื่อฝึกความแข็งแรงนั่นเอง
นอกจากการรักษากฎกติกามารยาทในสังเวียนการต่อสู้แล้ว ความน่ารักอีกอย่างหนึ่งของปลากัด ก็คือ ปลากัดตัวผู้ จะเป็นผู้สร้างรัง ดูแลไข่และตัวอ่อน
รัง จะเป็นหวอดที่ก่อขึ้นมาจากฟองอากาศ ที่ปลากัดตัวผู้ จะฮุบเข้าไปผสมกับเมือกเหงือกในปาก แล้วพ่นออกมาเป็นหวอดบริเวณผิวน้ำ เพื่อให้เป็นที่สำหรับฟองไข่และตัวอ่อน เกาะติด
หลัง จากเกี้ยวพาราสีตัวเมีย จนเป็นที่ยินยอมพร้อมใจแล้ว ก็จะทำการรัด โดยตัวเมียจะปล่อยไข่ และตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อออกมา ผสมกันภายนอก
ไข่ ที่ถูกผสม จะค่อยๆจมลงสู่พื้นล่างอย่างช้า ๆ พ่อแม่ปลาจะช่วยกันใช้ปากฮุบฟองไข่ แล้วนำไปพ่นไว้ที่ฟองหวอดจนกว่าไข่จะหมด ซึ่งอาจจะใช้เวลานับชั่วโมง หลังจากนั้นพ่อปลาจะเป็นผู้ทำหน้าที่เฝ้าระวังไข่และลูกอ่อน
ลูก ปลาจะฟักอยู่ภายในหวอดจนไข่แดงถูกใช้หมดและครีบพัฒนาสมบูรณ์ หากลูกปลาพลัดตกลงมาจากหวอด พ่อปลาจะทำหน้าที่นำลูกปลากลับมาพ่นไว้ที่หวอดดังเดิม และคอยเสริมหวอด ด้วยฟองอากาศที่พ่นใหม่อยู่เรื่อยๆ
ในระยะนี้พ่อปลา จะยุ่งทั้งวันโดยไม่มีการพักผ่อนเลย เพราะนอกจากจะต้องซ่อมแซมหวอด และคอยดูแลลูกปลาที่พลัดตกจากหวอดแล้ว ...ยังจะต้องเฝ้าระวังศัตรูที่จะเข้ามากินลูกอ่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แม่ปลาที่จะต้องถูกขับไล่ให้ออกไปอยู่ห่างๆ เพราะแม่ปลาจะชอบกินลูกอ่อนของตัวเอง
อนึ่ง ปลากัดมีความใกล้ชิดกับสังคมไทยไม่น้อยทีเดียว ลองสังเกตคำศัพท์ต่างๆ ซิ มีหลายคำที่นำมาจากวงการปลากัด
"ลูกหม้อ" หมายถึง ผู้ที่มีกำเนิดผูกพันอย่างแท้จริงเหมือนกับปลาลูกหม้อที่คัดสายพันธุ์แท้ จริง เลือกสรรลักษณะมาอย่างต่อเนื่อง
"ลูกไล่" หมายถึง ผู้ที่ถูกข่มอยู่ตลอดเวลา เหมือนปลาลูกไล่ที่ไม่ยอมสู้ปลาตัวอื่น
"ก่อ หวอด" หมายถึง การคิดกระทำมิดีมิร้าย ซึ่งเป็นอาการเตรียมการของปลากัดตัวผู้ ที่วางแผนจะผสมพันธุ์กับตัวเมีย
"ถอด สี" หมายถึง อาการตกใจยอมแพ้ของปลากัด
"ติดบิด" ซึ่งถูกนำมาใช้ในภาษามวย ที่ต่อยแล้วกอดกันแน่น
คำศัพท์ เหล่านี้ คนส่วนใหญ่ จะไม่ทราบว่าแท้จริงแล้ว เป็นคำศัพท์ในวงการนักเลงปลากัดมาก่อน
ปลา กัดสีธงชาติ มองเห็นก็รู้โดยไม่ต้องบอกว่า เมดอินไทยแลนด์
ผู้ที่คิดค้นพัฒนาสีสันของปลากัดสีธงชาติ คือชมรมปลากัดยักษ์ ซึ่ง ปัญศักดิ์ จำนงนิจ สมาชิกชมรมปลากัดยักษ์คนหนึ่ง เล่าให้ฟังถึงการพัฒนาปลากัดสีธงชาติว่า
“เป็นการ พัฒนาแบบใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน เริ่มจากเราต้องทำให้ได้ปลากัดขึ้นมา 3 สีก่อน คือแดง น้ำเงิน และขาว ให้สีมันนิ่งก่อน จากนั้นก็เอาตัวสีแดงมาผสมกับสีน้ำเงิน ก็จะได้เป็นปลา 2 สี เรียกว่า บัตเตอร์ฟลาย จากนั้นก็เอาปลากัดสีขาวเข้ามาผสมต่อ ซึ่งทางชมรมก็ได้ทดลองทำมาประมาณ 3-4 ปีแล้ว คิดว่าอีกประมาณ 2 ปี ก็น่าจะได้สีที่ชัดเจนที่สุด”
ราคาขายปลากัดสีธงชาติ เกรดเอนั้น จะอยู่ที่ประมาณ 4,000-5,000 บาท แต่ถ้าไปที่ต่างประเทศ ราคาก็จะอยู่ที่ 300 ดอลลาร์ ราคาและความสวยงามขนาดนี้ ไม่ใช่เป็นการเลี้ยงเพื่อเอาไว้กัดแน่นอน แต่เป็นการเลี้ยงเพื่อความสวยงามมากกว่า จะเอาไว้ตกแต่งบ้าน หรือมอบให้เป็นของที่ระลึกก็ได้
“การเลี้ยงปลา จะช่วยให้อารมณ์เยือกเย็น และปลามันมีเสน่ห์ การเลี้ยงก็ไม่ยุ่งยาก อุปกรณ์ก็ลงทุนน้อย อาหารปลาก็ปกติทั่วไป เป็นพวกลูกน้ำ ลูกไร เต้าหู้หลอด อาหารเม็ดก็ได้ อยู่ที่เราฝึก ไม่ยุ่งยากมาก”วัติ
ปลากัด เป็นปลาสวยงามขนาดเล็ก ที่คนไทยนิยมเลี้ยงกันมาตั้งแต่ยุคสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน เป็นปลาที่พบได้ในธรรมชาติทุกภาค อาศัยอยู่ตามห้วย หนอง คลอง บึง และในท้องนาทั่วไป
ปลากัด มีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่ง คือ มีอวัยวะช่วยหายใจพิเศษอยู่ที่บริเวณเหงือก ทำให้สามารถใช้ออกซิเจน จากการฮุบอากาศที่ผิวน้ำได้โดยตรง ปลากัดจึงสามารถทนทานต่อการดำรงชีวิตในน้ำที่มีออกซิเจนต่ำ เพราะสามารถขึ้นรับออกซิเจนที่อยู่บนผิวน้ำได้
ตำนานเล่าขานของปลากัด มีค่อนข้างแปลก ...จากบทความ "ธรรมชาติของปลากัดไทย" โดย ม.ล. ยิ่งศักดิ์ อิศรเสนา ซึ่งเขียนไว้นานแล้ว ได้พูดถึงการขุดหาปลากัด ในรูปูนา ตามขอบหนอง ชายบึง และริมคู ซึ่งไม่น่าเชื่อว่า ปลากัดสามารถเข้าไปอาศัยอยู่ในรูปู เพราะเมื่อถึงหน้าแล้ง น้ำเริ่มลดลงไปเรื่อยๆ ปูก็จะขุดรูลึกลงไปตามระดับน้ำที่ลดลงไป ปลากัดก็จะพลอยอาศัยน้ำในรูปูซึ่งมีอยู่นิดหน่อย โดยการหายใจรับอ๊อกซิเจนในอากาศ แล้วปลากัดจะออกมาใหม่ในต้นฤดูฝน
ปลากัด ที่ได้มาจากการขุดหาในรูปู แล้วนำมาเลี้ยงนี้ จะเรียกกันว่า “ปลาขุด” เป็นปลากัดในยุคแรกๆ ที่ว่ากันว่ามีน้ำอดน้ำทนในการกัดปลายิ่งกว่า ปลากัดตามธรรมชาติทั่วไป
ปลากัด โดยปกติจะชอบอาศัยอยู่บริเวณหญ้ารกๆ ในเขตน้ำตื้น ท่านใดจะช้อนตักปลากัดตามธรรมชาติ จะต้องไปบริเวณหญ้ารกๆ เพราะปลากัดเป็นปลาที่รับออกซิเจนที่ผิวน้ำ เราจึงไม่พบปลากัดตามแม่น้ำ ลำคลอง และหนองบึงที่มีน้ำลึกๆ รวมทั้งบริเวณน้ำตก ที่ซึ่งมีน้ำไหลเชี่ยว และไม่มีหญ้าขึ้นรก
ปลากัด เป็นปลาที่หวงถิ่นอาศัย ชอบอยู่ตัวเดียว และจับคู่ในฤดูผสมพันธุ์ จะต่อสู้ทันทีเมื่อมีตัวอื่นเข้าใกล้ ปลาตัวผู้สามารถเปลี่ยนสีได้งดงามเมื่อถูกกระตุ้นในสภาวะตื่นตัว ครีบทุกครีบจะแผ่กางออก แผ่นเยื่อหุ้มเหงือกจะขยายพองออก พร้อมกับสีน้ำเงินเหลือบ หรือสีแดงเหลือบ จะปรากฏออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจน ทำให้ดูมีสง่าสวยงาม และดูอาจหาญ
ด้วยลักษณะพิเศษนี้ คนไทยแต่โบราณจึงได้นำปลากัดมาต่อสู้กันเป็นกีฬาพื้นบ้าน และเลี้ยงไว้ดูเล่นเพื่อความสวยงาม
แต่ เดิม ปลากัดที่จับได้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ลำตัวจะแบน เล็ก มีสีน้ำตาลขุ่นๆ หรือสีเทาแกมเขียว และอาจจะมีแถบสีดำจาง ๆ พาดตามความยาวของลำตัว มีลักษณะว่องไว แต่กัดไม่ทน เรียกกันว่า “ปลากัดป่า” หรือ “ปลา กัดทุ่ง”
คนไทยได้นำปลากัดป่า มาเพาะเลี้ยงและคัดพันธุ์หลายชั้น หลายชั่วอายุ จนปัจจุบันได้ปลากัดรูปทรงดี แข็งแรง ลำตัวหนา ตัวใหญ่ สีสันสวยงามกว่าเดิม มีทั้งสีแดงเข้ม สีน้ำเงินเข้ม สีเขียวเข้ม สีเงิน และสีผสมมากกว่าหนึ่งสี ในตัวเดียวกัน รวมทั้งปราดเปรียว อดทนกว่าเดิม เรียกกันว่า “ปลากัดหม้อ หรือลูกหม้อ”
สันนิษฐานว่าคำนี้ ได้จากปลากัดถูกเพาะพันธุ์และเลี้ยงขึ้นมา ภายในหม้อดินเผา ไม่ใช่พันธุ์ที่มาจากท้องนา
จาก บันทึกคำบอกเล่า ของนักเลงปลารุ่นเก่าอย่าง หลวงอัมรินทร์สมบัติ (ครอบ สุวรรณนคร) เล่าว่า “ปลาลูกหม้อ น่าจะถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงประมาณปี 2430 ซึ่งท่านจำได้ว่า ก่อนหน้านั้น ยังต้องจับปลากัดป่ามากัดพนันกันอยู่ ต่อมานักเลงปลากัดบางคน ก็เริ่มใช้วิธีไปขุดล้วงเอาปลากัดป่า ที่อาศัยอยู่ตามรูปูในหน้าแล้ง มาขังไว้ในโอ่ง มาเลี้ยงดูให้อาหาร พอถึงฤดูฝนก็นำมากัดพนันกับปลากัดป่า ซึ่งส่วนใหญ่ปลาขุดจะสู้ชนะทุกครั้ง”
“ปลา สังกะสี ที่กัดเก่ง อดทน สวยงาม ก็จะถูกคัดเอาไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ เมื่อผสมออกมา ก็จะได้ปลาที่มีลักษณะรูปพรรณ สีสันที่สวยงาม แปลกออกไปตามอัธยาศัยของผู้ผสมพันธุ์ พร้อมกับได้ ความเก่ง และความอดทนด้วย จะว่าไปแล้วพันธุศาสตร์สัตว์น้ำของเมืองไทย นับได้ว่าน่าจะเริ่มมาตั้งแต่ยุคนั้น(ประมาณปี 2430)”
จาก ปลาสังกะสี ได้มีการพัฒนาพันธุ์ต่อมา จนได้ปลากัดที่มีครีบและหางยาวพลิ้ว ปลายแหลม มีสีสันสวยงามหลายสี สำหรับเลี้ยงไว้เพื่อดูเล่น คล้ายๆปลาทอง เรียกกันว่า “ปลากัดจีน” เหตุที่เรียกเช่นนี้ ไม่ใช่เพราะนำมาจากประเทศจีน แต่เป็นเพราะครีบและหางที่ยาวออกมามากและแผ่กว้างขึ้น มีสีสันใหม่ ๆสวยงาม เหมือนตัวงิ้ว จึงเรียกกันว่า "ปลากัดจีน"
และ ยังมีผู้เพาะเลี้ยงและพัฒนาพันธุ์ จนได้ปลากัดที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิมอีกเท่าตัว เรียกกันว่า “ปลากัดยักษ์” สำหรับ “ปลากัดเขมร” นั้น เพราะเกิดจากการผสมพันธุ์ไปมา จนได้ปลาที่มีสีผิว แบบปลากัดเผือก หรือสีอ่อน คล้ายๆกับปลากัดทางเขมร จึงเรียกกันว่า "ปลากัดเขมร"
จากความแตกต่างของปลา กัดที่พัฒนาพันธุ์ขึ้น จึงได้แบ่งประเภทของปลากัดเป็นสองประเภท คือ ประเภทครีบสั้น กับประเภทครีบยาว
และยังแบ่งออกได้เป็น ชนิดหางเดี่ยว ชนิดหางคู่ ชนิดก้านครีบ ชนิดหางยาวแหลม ชนิดครีบเว้าลึกคล้ายมงกุฎ(หางมงกุฎ) และชนิดหางแผ่ได้ครึ่งวงกลม(พระจันทร์ครึ่งดวง) รวมทั้งสี ก็ยังแบ่งออกได้เป็น ปลากัดชนิดสีเดี่ยว ชนิดสองสี และชนิดหลากสี
การ ต่อสู้ของปลากัด …ปลากัดป่านั้นเมื่อนำมากัดกัน จะมีน้ำอดน้ำทนไม่มากนัก ระยะเวลาของการต่อสู้ จะไม่เกิน 15-20 นาที แต่ปลาลูกหม้อที่มีการคัดสายพันธุ์มาอย่างต่อเนื่อง จะสามารถต่อสู้กันได้ประมาณ 3 ชั่วโมง บางคู่อาจกัดกันข้ามวันข้ามคืนก็มี
ปลา กัด สามารถต่อสู้กันอย่างต่อเนื่องได้นาน ๆ โดยไม่ต้องพักยก มีคั่นเพียงการโผล่ขึ้นมาฮุบอากาศที่ผิวน้ำในระยะเวลาสั้น ๆ
จุดหลักสำหรับการโจมตี คือครีบก้น ครีบหาง และครีบหลัง ส่วนครีบอก และตะเกียบนั้น มักจะไม่ได้รับความสนใจมาก
เมื่อ การต่อสู้ผ่านไปเรื่อยๆ ครีบเดี่ยวเหล่านี้จะถูกกัดขาดวิ่นไปเรื่อยๆ จนบางครั้งอาจจะเหลือเพียงโคนของก้านครีบ ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของการว่ายน้ำและการควบคุมทิศทางลดลง รวมทั้งเหนื่อยด้วย
จุดอื่นที่เป็นเป้าโจมตีของปลากัด ก็คือ ด้านข้างลำตัว การกัดบริเวณนี้อย่างรุนแรงรวดเร็ว อาจจะทำให้เกล็ดร่วงหลุด แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยมีแผลบาดเจ็บมากนัก ยกเว้นบริเวณเหงือก ที่บางครั้งอาจถูกกัดจนเป็นแผล
หากปลาถูกโจมตีซึ่งๆหน้า ไม่สามารถหลบหลีกได้ ปลากัดจะประสานปากเข้ากัดกัน ล็อคขากรรไกรแน่น ท่านี้นักเลงปลา เรียกว่า "ติดบิด" ปลาจะปล่อยตัวตามยาวทำให้ส่วนที่เหลือของลำตัวหมุนบิดเป็นเกลียว จนจมลงสู่พื้นอ่าง และจะคงอยู่ในท่านี้ ประมาณ 10-20 วินาที จึงจะแยกจากกัน เพื่อขึ้นสู่ผิวน้ำเพื่อฮุบอากาศ แล้วจะกลับมาต่อสู้กันใหม่ในท่าเดิมอีก
จริยธรรม ของปลากัดในช่วงนี้ จะไม่เคยมีปลากัดตัวไหนถูกลอบกัดขณะขึ้นฮุบอากาศ และในการต่อสู้บางครั้ง อาจจะติดบิดกันถึง 20 ครั้ง จึงจะมีการแพ้การชนะ
การแพ้ชนะของปลากัด ส่วนใหญ่จะเกิดจากการยอมแพ้เพราะเหนื่อยและสูญเสียความอดทน มากกว่าจากการบาดเจ็บ ....เมื่อปลากัดยอมแพ้ ก็จะว่ายน้ำหนี หรือจะหันด้านหางเข้าหาเมื่อคู่ต่อสู้เข้าโจมตี ก็เป็นอันจบเกมการแข่งขัน
ปลา กัด เป็นปลาที่มีสัญชาติญาณของการต่อสู้ รักถิ่นอาศัยของตนเอง แม้จะไม่จับมาแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน มันก็จะกัดกันเองตามธรรมชาติอยู่แล้ว ...และหากปลากัดเหนื่อยล้าหมดแรง มันก็จะหนี จะไม่กัดกันจนถึงขั้นบาดเจ็บถึงตาย
เมื่อสิ้น สุดการต่อสู้อันยืดเยื้อ ปลาทั้งคู่อาจจะอยู่ในสภาพที่ไม่น่ามอง เนื่องจากครีบอาจจะถูกกัดขาดวิ่น หรือเกล็ดหลุดร่วง แต่ในระยะเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ก็จะสามารถงอกกลับมาใหม่เป็นดังปกติ แทบจะไม่พบร่องรอยของการบาดเจ็บในอดีต
หมายเหตุจขบ. : ผมไม่เคยกัดปลากัด ข้อมูลเรื่องครีบ และเกล็ด งอกออกมาใหม่นั้น ผมไม่แน่ใจว่าจริงหรือไม่? นะครับ
นักเลงปลากัด จะมีวิธีการซ้อมปลากัดของตน เพื่อให้มีความพร้อมก่อนการต่อสู้ โดยอาจใช้วิธีไล่น้ำ โดยการใช้มือ กวนน้ำในอ่าง ให้น้ำวนอย่างแรง แล้วปล่อยปลาลงไปว่ายทวนน้ำ หรือฝึกออกกำลังปลาโดยปล่อยปลากัด "ลูกไล่" ที่เป็นปลาไม่สู้ ลงไปอยู่ในโหลเดียวกัน แล้วให้ปลานักสู้ของตนซ้อมไล่ เพื่อฝึกความแข็งแรงนั่นเอง
นอกจากการรักษากฎกติกามารยาทในสังเวียนการต่อสู้แล้ว ความน่ารักอีกอย่างหนึ่งของปลากัด ก็คือ ปลากัดตัวผู้ จะเป็นผู้สร้างรัง ดูแลไข่และตัวอ่อน
รัง จะเป็นหวอดที่ก่อขึ้นมาจากฟองอากาศ ที่ปลากัดตัวผู้ จะฮุบเข้าไปผสมกับเมือกเหงือกในปาก แล้วพ่นออกมาเป็นหวอดบริเวณผิวน้ำ เพื่อให้เป็นที่สำหรับฟองไข่และตัวอ่อน เกาะติด
หลัง จากเกี้ยวพาราสีตัวเมีย จนเป็นที่ยินยอมพร้อมใจแล้ว ก็จะทำการรัด โดยตัวเมียจะปล่อยไข่ และตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อออกมา ผสมกันภายนอก
ไข่ ที่ถูกผสม จะค่อยๆจมลงสู่พื้นล่างอย่างช้า ๆ พ่อแม่ปลาจะช่วยกันใช้ปากฮุบฟองไข่ แล้วนำไปพ่นไว้ที่ฟองหวอดจนกว่าไข่จะหมด ซึ่งอาจจะใช้เวลานับชั่วโมง หลังจากนั้นพ่อปลาจะเป็นผู้ทำหน้าที่เฝ้าระวังไข่และลูกอ่อน
ในระยะนี้พ่อปลา จะยุ่งทั้งวันโดยไม่มีการพักผ่อนเลย เพราะนอกจากจะต้องซ่อมแซมหวอด และคอยดูแลลูกปลาที่พลัดตกจากหวอดแล้ว ...ยังจะต้องเฝ้าระวังศัตรูที่จะเข้ามากินลูกอ่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แม่ปลาที่จะต้องถูกขับไล่ให้ออกไปอยู่ห่างๆ เพราะแม่ปลาจะชอบกินลูกอ่อนของตัวเอง
"ลูกหม้อ" หมายถึง ผู้ที่มีกำเนิดผูกพันอย่างแท้จริงเหมือนกับปลาลูกหม้อที่คัดสายพันธุ์แท้ จริง เลือกสรรลักษณะมาอย่างต่อเนื่อง
"ลูกไล่" หมายถึง ผู้ที่ถูกข่มอยู่ตลอดเวลา เหมือนปลาลูกไล่ที่ไม่ยอมสู้ปลาตัวอื่น
"ก่อ หวอด" หมายถึง การคิดกระทำมิดีมิร้าย ซึ่งเป็นอาการเตรียมการของปลากัดตัวผู้ ที่วางแผนจะผสมพันธุ์กับตัวเมีย
"ถอด สี" หมายถึง อาการตกใจยอมแพ้ของปลากัด
"ติดบิด" ซึ่งถูกนำมาใช้ในภาษามวย ที่ต่อยแล้วกอดกันแน่น
คำศัพท์ เหล่านี้ คนส่วนใหญ่ จะไม่ทราบว่าแท้จริงแล้ว เป็นคำศัพท์ในวงการนักเลงปลากัดมาก่อน
ปลา กัดสีธงชาติ มองเห็นก็รู้โดยไม่ต้องบอกว่า เมดอินไทยแลนด์
ผู้ที่คิดค้นพัฒนาสีสันของปลากัดสีธงชาติ คือชมรมปลากัดยักษ์ ซึ่ง ปัญศักดิ์ จำนงนิจ สมาชิกชมรมปลากัดยักษ์คนหนึ่ง เล่าให้ฟังถึงการพัฒนาปลากัดสีธงชาติว่า
“เป็นการ พัฒนาแบบใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน เริ่มจากเราต้องทำให้ได้ปลากัดขึ้นมา 3 สีก่อน คือแดง น้ำเงิน และขาว ให้สีมันนิ่งก่อน จากนั้นก็เอาตัวสีแดงมาผสมกับสีน้ำเงิน ก็จะได้เป็นปลา 2 สี เรียกว่า บัตเตอร์ฟลาย จากนั้นก็เอาปลากัดสีขาวเข้ามาผสมต่อ ซึ่งทางชมรมก็ได้ทดลองทำมาประมาณ 3-4 ปีแล้ว คิดว่าอีกประมาณ 2 ปี ก็น่าจะได้สีที่ชัดเจนที่สุด”
ราคาขายปลากัดสีธงชาติ เกรดเอนั้น จะอยู่ที่ประมาณ 4,000-5,000 บาท แต่ถ้าไปที่ต่างประเทศ ราคาก็จะอยู่ที่ 300 ดอลลาร์ ราคาและความสวยงามขนาดนี้ ไม่ใช่เป็นการเลี้ยงเพื่อเอาไว้กัดแน่นอน แต่เป็นการเลี้ยงเพื่อความสวยงามมากกว่า จะเอาไว้ตกแต่งบ้าน หรือมอบให้เป็นของที่ระลึกก็ได้
“การเลี้ยงปลา จะช่วยให้อารมณ์เยือกเย็น และปลามันมีเสน่ห์ การเลี้ยงก็ไม่ยุ่งยาก อุปกรณ์ก็ลงทุนน้อย อาหารปลาก็ปกติทั่วไป เป็นพวกลูกน้ำ ลูกไร เต้าหู้หลอด อาหารเม็ดก็ได้ อยู่ที่เราฝึก ไม่ยุ่งยากมาก”
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)